Cover บทความ On-Page SEO คืออะไร

On-Page SEO คืออะไร? มีวิธีการทำอย่างไรบ้าง? [รวมสิ่งที่ต้องรู้]

mins read   1stCraft Team

On-page SEO เป็นวิธีการทำ SEO บนเว็บไซต์ ที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการทำ SEO เพื่อทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในหน้าแรกๆ ของ Google ได้ 

หัวใจสำคัญของการทำ On-page SEO มีหลากหลายเรื่องที่ให้เราต้องปรับแต่งและลงมือทำ เพื่อให้ทั้งคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ (หรือลูกค้าของเรา) และทั้งอัลกอริทึมของ Google (หรือ Crawl Bot) ชอบ  

แล้วในฐานะของเจ้าของเว็บไซต์หรือคนทำ SEO การทำ On-page SEO มีอะไรต้องทำบ้าง? 

ทำความเข้าใจและอ่าน Checklist 12 ข้อในการทำ On-Page SEO ในบทความนี้กันเลย

On-page SEO คืออะไร?

On-page SEO คือ วิธีทำ SEO บนเว็บไซต์ของเราเอง (บางคนเรียกว่า “On-site SEO”) สิ่งที่เราต้องทำก็มีหลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

  • การทำคอนเทนต์ 
  • การใส่แท็ก (tag) 
  • การเชื่อมต่อลิงก์ URL 
  • การปรับแต่งหน้าเพจให้อ่านง่าย น่าสนใจ และอีกหลากหลายเทคนิค

โดยเป้าหมายสำคัญของการทำ On-Page SEO คือ การตอบโจทย์ผู้ใช้งานและตอบโจทย์อัลกอริทึม (Google Algorithm) ทำให้ Bot เข้าใจว่า เว็บไซต์/เว็บเพจกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ตรงกับสิ่งที่คนเสิร์ชแค่ไหน เพื่อใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์

ความสำคัญของ On-Page SEO

แน่นอนว่า การทำ On-page SEO มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำ SEO เพราะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ 3 องค์ประกอบหลักในการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับ ซึ่ง On-page SEO ก็ดูเหมือนว่าจะมีนำ้หนักคะแนนในการทำ SEO มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ เพราะสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของ Search Engine และการเสพคอนเทนต์/ท่องเว็บไซต์ของคน

On-page SEO กับการทำงานของ Search Engine

กระบวนการทำงานของ Search Engine
ขอบคุณภาพจาก mangools.com

Search Engine มีกระบวนการในการทำงานอยู่ 3 อย่าง เพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ของเรา ได้แก่ 

  1. Crawling ด้วยการเข้ามาสำรวจและสแกนเก็บข้อมูลจากหน้าเพจต่างๆ บนเว็บไซต์ โดยสิ่งที่ Crawl bot เข้าใจ จะเป็นโค้ด (code) และ Tag ต่างๆ 
  1. Indexing ทำดัชนีหรือนำข้อมูลเว็บไซต์เข้ามาเก็บในฐานข้อมูลของ Search Engine โดยเมื่อมีคนเสิร์ช “คำค้น” (Keyword) ต่างๆ เข้ามา ตัว Bot จะได้เข้ามาหาข้อมูลได้ 
  1. Ranking จัดอันดับเพื่อนำเสนอ หลังจากที่ Bot สแกนเก็บเนื้อหามาไว้ในฐานข้อมูลแล้ว เมื่อมีคนเสิร์ชเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งๆ ขึ้นมา Bot ก็จะวิ่งไปที่ฐานข้อมูล จากนั้นก็ทำการประเมินดูว่า เนื้อหาจากหน้าเพจใดของเว็บไซต์ไหนที่น่าจะตอบโจทย์คนที่ค้นหาข้อมูลเข้ามามากที่สุด (ตรงนี้ Bot จะชี้วัดและประเมินจากปัจจัยต่างๆ ที่เรียกว่า “Ranking Factors” ซึ่งมีเรื่องของ On-page SEO เป็นส่วนมาก)

การทำ On-page SEO สัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของ Search Engine หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าการทำ Technical SEO เพราะด้วยการใส่ Tag ต่างๆ เพื่อชี้บอก Crawl bot ให้เข้าในเนื้อหาบนเว็บไซต์ และด้วยการทำตาม Ranking Factor เพื่อเพิ่มโอกาสให้ Bot จัดอันดับหน้าเพจ/เว็บไซต์ของเราให้ได้อันดับที่ดีขึ้น

การทำ On-page SEO คือ การทำเว็บไซต์ให้คนใช้งานจริง

การทำ On-page SEO ที่ดี ช่วยให้คนที่เสิร์ชข้อมูลเข้ามาเจอสิ่งที่เขาต้องการเร็วขึ้น และยังสัมพันธ์กับคุณภาพของคอนเทนต์และการทำงานของเว็บไซต์ เช่น 

  • การตั้งชื่อหัวข้อหน้าเพจ (SEO/Meta Title) 
  • การใส่คำอธิบายหน้าเพจ (Meta Description) 
  • การทำเนื้อหาให้สอดคล้องกับ Keyword หรือสิ่งที่คนค้นหา (Keyword) 
  • การทำเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ตรงประเด็น (Readability & SEO Writing)
  • การทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ดีที่สุด (E-A-T Content, การใส่รูปภาพ, การใช้สื่อที่หลากหลาย)  
  • การปรับประสิทธิภาพการใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์ (Site Speed)

ปัจจัยต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมา ต่างก็เป็นหนึ่งใน Ranking Factors และเป็นสิ่งที่ทำคนเสพคอนเทนต์ได้ประสบการณ์ใช้งานบนเว็บไซต์ที่ดีขึ้น อัลกอริทึมของ Google จะเรียนรู้ว่า คนชอบหน้าเพจนี้ หน้าเพจนี้ตอบโจทย์คนได้ ก็จะช่วยจัดอันดับเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เข้าถึงคนได้มากขึ้น

การทำ On-page สัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งที่คนต้องการ และหน้าที่ของ Search Engine อย่าง Google ก็คือ การคัดสรรเนื้อหาที่ช่วยตอบโจทย์ ตอบข้อสงสัยของผู้เสิร์ชได้ 

On-page SEO จึงเป็นองค์ประกอบการทำ SEO ที่สำคัญและสัมพันธ์กับองค์ประกอบสำคัญในการทำ SEO นั่นคือ อัลกอริทึมและคน

12 ส่วนประกอบของ On-page SEO มีอะไรต้องทำบ้าง? [Checklist]

สำหรับการทำ On-page SEO จริงๆ แล้วมีหลายเรื่องที่จะต้องทำ ซึ่งถึงแม้จะทำตามได้ทั้งหมดหรือไม่หมด ก็ไม่ได้การันตีว่าผลลัพธ์อันดับเว็บไซต์จะแตกต่างกัน แต่ปัจจัยที่แนะนำให้ทำก่อน จะเป็นพื้นฐานให้ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์ที่ Google กำหนด 

โดยส่วนประกอบของ On-page SEO 12 ข้อต่อไปนี้ 

  1. การทำคอนเทนต์คุณภาพ (E-A-T Content)
  2. การใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องและมีคนค้นหา
  3. การเขียนคอนเทนต์รูปแบบ SEO (SEO Writing & Readability)
  4. การใช้รูปภาพและมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ Infographic ฯลฯ 
  5. การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ Title Tag
  6. การใส่คำอธิบายหน้าเพจ Meta Description
  7. การปรับรูปภาพให้เหมาะสมกับการใช้งาน (Image Optimization)
  8. การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)
  9. การทำเว็บไซต์ให้แสดงผลได้บนมือถือ (Responsive Design)
  10. การตั้งชื่อลิงก์หรือที่อยู่เว็บไซต์ (Friendly URLs)
  11. การทำ Internal link & Outbound link
  12. การทำเว็บไซต์ให้แชร์ง่าย (Shareable)

1. การทำคอนเทนต์คุณภาพ (E-A-T Content)

สิ่งที่คนต้องการอ่าน คือ คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และ Google หรือ Search Engine เจ้าอื่นๆ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งทาง Google ก็แนะนำไกด์ไลน์ในการทำคอนเทนต์ที่ Google ชอบ อยากดันอันดับให้ มี 3 เรื่องด้วยกัน

  1. Expertise หมายถึง คอนเทนต์มาจากเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ถ้าเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บประกัน เนื้อหาบนเว็บไซต์ก็ควรเกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องประกัน ทำเนื้อหาบนคอนเทนต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มุ่งทำคอนเทนต์ในด้านนั้นๆ เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญของเรา
  2. Authoritativeness หมายถึง คอนเทนต์มาจากใคร ใครเป็นผู้เขียน แล้วผู้เขียนเป็นคนที่เชื่อถือได้หรือไม่ Google จะมองว่า เว็บไซต์ทรงอิทธิพลในความรู้ด้านนั้นๆ แค่ไหน (เว็บไซต์มีคนอ้างอิงมากน้อยแค่ไหน มีการถูกพูดถึง) หรือผู้เขียนมีตำแหน่งหรือไม่ หากเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการแพทย์ การที่คนเขียนบล็อกมีตำแหน่งเป็นแพทย์จะมีเครดิตที่ดีกว่า
  3. Trustworthy หมายถึง ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เนื้อหาที่นำเสนอมีการอ้างอิงหรือไม่ มีคนอ้างอิงเนื้อหาแค่ไหน มีคนเข้ามาหาและอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราบ่อยหรือไม่ 

2. การใช้ Keyword

การเลือกใช้ “คำหลัก” หรือ Keyword ในการทำคอนเทนต์ สร้างเนื้อหาบนหน้าเพจ โดย “หนึ่ง 1 เพจ ควรโฟกัส 1 คำหลัก” หรือคุมเนื้อหาให้มีประเด็นเดียว เพื่อความชัดเจนของเนื้อหา นอกจากนี้ Keyword ที่ใช้ควรมีลักษณะต่างๆ ได้แก่

  • มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน (Relevant) เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือสิ่งที่ธุรกิจต้องการให้ความรู้ 
  • มีคนค้นหา (Search Volume) เราสามารถใช้ Keyword Research Tool ในการเสิร์ชดูปริมาณการค้นหาคำหลักต่างๆ ยิ่งมีคนค้นหามาก ก็แสดงว่า หากเราเลือกใช้ ก็มีโอกาสที่คนจะค้นหาและมาเจอเว็บไซต์ของเรามากเท่านั้น
  • สามารถแข่งขันได้ (Keyword Difficulty) การเลือก Keyword ที่ค่า KD หรือ Difficulty สูงเกินไป จะแข่งขันยาก ควรสมดุลระหว่าง Keyword ที่มีคนค้นเยอะ (หรือไม่น้อยเกินไป) กับความยากในการทำอันดับ

3. การเขียนคอนเทนต์ SEO (SEO Writing & Readability)

ตำแหน่งการวาง Keyword ที่เหมาะสมบนหน้าเพจ
ขอบคุณภาพจาก wordstream.com

ผลิตเนื้อหาหรือคอนเทนต์บนหน้าเว็บเหมาะกับการทำงานของ Search Engine และเหมาะกับวิธีการเสพคอนเทนต์ของคน ดึงคนให้อยู่กับเนื้อหาได้ตลอด ด้วยเทคนิคการเขียน SEO ยกตัวอย่างเช่น 

  • การกระจาย Keyword อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ให้มีความหนาแน่นมากเกินไป โดยวางให้กระจายตามตำแหน่งที่เหมาะสม
  • การใส่ Heading Tag ให้กับหัวข้อต่างๆ ในบทความ เพื่อให้ Bot เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว
  • การเขียนย่อหน้าสั้นๆ หรือไม่ยาวเกิน 5 บรรทัด เพื่อให้เหมาะกับการอ่านบนอุปกรณ์ดิจิทัล
  • การใช้ Bullet, Number และตัวอักษร italic, bold เพื่อย่อยเนื้อหาให้อ่านง่าย 
  • การแทรกวลี คำพูด หรือ Quote ระหว่างย่อหน้า เพื่อดึงความสนใจผู้อ่านหรือเพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตา
  • เนื้อหามีความยาวที่พอเหมาะ ไม่สั้นจนเกินไป (1,000 คำ ขึ้นไปสำหรับคำไทย)

4. การใช้รูปภาพและสื่อหลากหลาย (Image & Multimedia)

นอกจากคอนเทนต์ในรูปแบบข้อความแล้ว บนหน้าเว็บควรมีสื่อประเภทอื่นๆ เช่น รูปภาพ Infographic วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวหรือ Gif หรือสื่อ Interactive ที่ทำให้การเสพคอนเทนต์บนหน้าเพจน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ การมีสื่อที่หลากหลายยังทำให้คนใช้เวลาสำรวจเนื้อหาบนเว็บไซต์นานขึ้นอีกด้วย (เพิ่ม Dwell time หรือ Time on page) ซึ่งเป็นหนึ่งใน User Signal ที่ Google ใช้ประเมินว่า คนชอบหน้าเพจนี้หรือไม่

5. การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ Title Tag

Title Tag และ Meta Description ที่แสดงผลบนหน้าเสิร์ช
Title Tag และ Meta Description ที่แสดงผลบนหน้าเสิร์ช

การตั้งชื่อหน้าเพจหรือใส่ Title Tag ให้กับหน้าเพจ จะช่วยบอกทั้ง Bot และคนให้รู้ว่า หน้าเพจนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร โดย Title Tag จะเป็นข้อมูลส่วนแรกที่ Bot เข้ามาอ่าน และปรากฏเป็นชื่อหน้าเพจบนหน้าค้นหาบน Google (ตามรูปตัวอย่าง) 

ตัว Title Tag มีความสำคัญอย่างมาก ควรตั้งชื่อบทความหรือชื่อเพจให้ชวนคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหา โดยตั้งให้มีความยาวไม่เกิน 60 ตัวอักษร (ไม่ใช่นั้นจะแสดงผลไม่ครบ) และ Title Tag ควรมี Keyword ที่เราโฟกัสสำหรับเนื้อหาหน้าเพจนั้นๆ ด้วย 

6. การใส่คำอธิบายหน้าเพจ Meta Description

ต่อจาก Title Tag ส่วนต่อมาที่ Bot จะอ่านก็คือ Meta Description หรือคำอธิบายเว็บเพจแบบสั้นๆ เพื่อดูภาพรวมว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวกับอะไร และเช่นเดียวกันกับคนเสิร์ช ส่วน Meta Description จะแสดงอยู่ด้านใต้ของชื่อหน้าเพจบนหน้าแสดงผลการค้นหา (ตามรูปตัวอย่าง) 

ในส่วน Meta Description ควรเป็นส่วนที่เราเขียนเพื่ออธิบายว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวข้องกับอะไร เมื่อคนคลิกไปดู เขาจะเจอกับอะไรบ้าง ควรเขียนเพื่อชักจูงให้คนอยากคลิกเข้ามาดู และถ้าแทรก Keyword ที่โฟกัสทำไว้ได้ด้วย ก็สามารถช่วยเพิ่มโอกาสทำอันดับขึ้นได้อีกนิด

7. การทำ Image Optimization ปรับแต่งรูปภาพให้เหมาะสม 

รูปภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้หน้าเพจและคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของเราน่าสนใจ แต่เพื่อประสิทธิภาพในเชิง SEO เราควรปรับแต่งรูปภาพอีกเล็กน้อยเพื่อให้ Google Bot ก็เข้าใจสิ่งที่อยู่ในภาพ และรูปภาพไม่โหลดนานเกินรอ

  • ตั้งข้อ Alternative text หรือ Alt text ให้กับรูปภาพ อธิบายว่าเป็นรูปอะไร เกี่ยวกับอะไร รวมถึงแทรก Keyword ที่โฟกัสทำเนื้อหาบนหน้าเพจนั้นๆ ด้วย จะช่วยเพิ่มโอกาสไต่อันดับ SEO ได้
  • เลือก Format หรือสกุลไฟล์รูปภาพที่เหมาะสม เช่น png สำหรับรูปภาพที่คุณภาพสูงที่ไม่มีพื้นหลัง, jpeg สำหรับไฟล์รูปภาพที่คุณภาพลดลงมาหน่อย ช่วยให้ดาวน์โหลดได้เร็วขึ้น, webp สำหรับรูปภาพที่มีการบีบอัดให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่สูญเสียคุณภาพ รองรับบน Chrome และ Firefox
  • ตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้มีความหมาย อ่านได้ (descriptive name) เช่น “01-seo-keyword-placement” แทนชื่อรูปภาพดั้งเดิมเช่น “IMG_80404.png”

8. การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)

ความเร็วเป็นเรื่องสำคัญที่ Google ใช้เป็นเกณฑ์ให้คะแนนเว็บไซต์ และสำหรับคนที่ใช้งานจริงๆ หากต้องรอโหลดเว็บไซต์มากกว่า 5 วินาที ก็คงไม่รอ 

ดังนั้น การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์จึงเป็นอีกเรื่องที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญ (คุณสามารถเช็กความเร็วเว็บไซต์ได้ที่นี่) โดยเทคนิคเพิ่มความเร็วให้เว็บไซต์ก็ทำได้หลายวิธี เช่น

  • เลือกใช้ Theme เว็บไซต์ที่รองรับเรื่องความเร็ว องค์ประกอบที่ต้องดาวน์โหลดเพื่อแสดงผลมีไม่มาก
  • การเลือก Hosting ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความเร็วหรือเลือก Hosting ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ที่กลุ่มเป้าหมายอยู่อาศัย เช่น คนเข้าเว็บไซต์เป็นคนไทย ควรเลือก Hosting ที่อยู่ในประเทศไทย
  • บีบอัดรูปภาพให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง เลือกใช้สกุลไฟล์ที่มีขนาดเล็ก เช่น webp และทำ Lazy load ให้รูปภาพแสดงทีละส่วน
  • ติดตั้ง Plug-in หรือเครื่องมือบนเว็บไซต์เท่าที่จำเป็น เพราะหากมี Plug-in ทำงานพร้อมกันจำนวนมาก จะทำให้เว็บโหลดช้า
  • มีการเก็บ Cache ใน Browser เพื่อให้คนที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์มาก่อน ไม่ต้องดาวน์โหลดหน้าเพจใหม่ทั้งหมด เพราะมีสคริปต์ฝังเป็น Chache ใน Browser ที่เขาใช้ตั้งแต่ครั้งก่อนแล้ว

9. การทำเว็บไซต์ให้แสดงผลได้บนมือถือ (Responsive Design)

ขอบคุณภาพจาก tranzzo.com

ทุกวันนี้ คนใช้ Google เพื่อค้นหาสิ่งต่างๆ ด้วยสมาร์ตโฟนมากกว่าการค้นหาด้วยคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก  การแสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์พกพา หรือ Mobile Responsiveness จึงถูกให้ความสำคัญมากขึ้น เว็บไซต์จึงต้องออกแบบมาให้แสดงผลรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ เช่น 

  • มีการจัด Layout เนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆ ให้ดูง่ายบนมือถือ
  • เว้นระยะห่างระหว่างปุ่ม ให้สัมผัสได้ง่าย ถูกต้อง ไม่ลำบากในการสัมผัส
  • มีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับการอ่านบนมือถือ

คุณสามารถทำ Mobile-friendly Test << ดูว่าเว็บไซต์เหมาะกับการใช้งานบน Mobile หรือเปล่า ได้ที่นี่

10. การตั้งชื่อลิงก์หรือที่อยู่เว็บไซต์ (Friendly URLs)

ควรตั้ง URLs หรือชื่อที่อยู่เว็บไซต์ให้เป็นคำที่อ่านออกและไม่ยาวจนเกินไป รวมถึงมีโครงสร้างที่สม่ำเสมอชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น www.yourwebsite.com/service/service_a หรือ www.yourwebsite.com/blog/contentname

ไม่ปล่อยชื่อเว็บเพจให้อ่านไม่รู้เรื่องหรือมีหน้าตาประมาณนี้ www.yourwebsite.com/1cODa5MdMUg0yRRpr2P_yk8dZwCmpkU8-H 

เพื่อให้คนที่จะคลิกเข้ามาอ่านเว็บไซต์ รู้ว่าเมื่อเข้าไปแล้วจะเจออะไรและเชื่อถือได้ว่า ไม่ใช่ลิงก์สแปมหรือไวรัส ทั้งนี้ การเขียนลิงก์ควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะหากเขียนเป็นภาษาไทย เมื่อนำลิงก์ไปแชร์บนแพลตฟอร์มอื่นจะกลายเป็นตัวอักษรที่เหมือนภาษาต่างดาว ยาวเหยียดและอ่านไม่ได้ 

ภายในหน้าเพจต่างๆ ควรมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คนที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์และทำให้ Google Bot เข้าใจเว็บไซต์ของเรามากขึ้นผ่านการทำความเข้าใจเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราเชื่อมโยงไปหา 

  • ทำ Internal link หรือการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเพจอื่นภายในเว็บไซต์เดียวกัน จะช่วยให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาบนหน้านั้นๆ ได้มากขึ้น และเทคนิคนี้ ยังช่วยให้หน้าปลายทาง (หน้าที่ถูกลิงก์ไปหา) ได้รับค่าพลัง SEO มาด้วย
  • ทำ Outbound link หมายถึง การลิงก์ไปหาเว็บไซต์อื่น ซึ่งควรเป็นเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เรา อาจหมายถึงการอ้างอิงเว็บไซต์ก็ได้ เทคนิคนี้จะช่วยให้ Google มองว่า เว็บไซต์ของเรามีการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและช่วยให้ Bot เข้าใจเนื้อหาและบริบทของเว็บไซต์เราได้ดีขึ้น ผ่านการทำลิงก์เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

12. การทำเว็บไซต์ให้แชร์ง่าย (Shareable)

ตัวอย่างการเพิ่มปุ่ม Social Share บนหน้าเว็บเพจ
ตัวอย่างการเพิ่มปุ่ม Social Share บนหน้าเว็บเพจ

การที่มีคนแชร์เว็บไซต์ของเราไปยังช่องทางอื่นๆ ก็เป็นการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหรือ Traffic เข้ามาในเว็บไซต์ รวมไปถึงทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเรามีอิทธิพลและมีคนชื่นชอบ 

Google ก็จะช่วยดันอับดับเว็บไซต์ของเราให้สูงขึ้นไปอีก โดยเทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้คนแชร์เว็บไซต์ของเรามากขึ้นนอกจากการผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่น่าสนใจแล้ว ก็คือ การมี “ปุ่มแชร์โซเชียลฯ” ให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์กดได้ง่ายๆ จะติดไว้ข้างบนความหรือท้ายบทความเวลาคนอ่านจบก็ได้เช่นกัน

สรุปบทความ 

การทำ On-page SEO เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำ SEO ข้อที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็ประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ทั้งการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ การใส่ Tag ต่างๆ เพื่อกำกับให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์มากขึ้น ฯลฯ และ On-page SEO ยังเป็นพื้นฐานของการทำ Off-page SEO หรือการทำ SEO นอกเว็บไซต์อีกด้วย 

หากจะทำ SEO ให้สำเร็จ ทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ จึงควรใส่ใจกับการทำ On-page SEO อย่างจริงจัง เพื่อให้พื้นฐานของการทำ SEO แข็งแรง เว็บไซต์ไม่ตกอันดับ

หากคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณติดหน้าแรกบน Google เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน 1stCraft เราเข้าใจการทำ SEO ในทุกองค์ประกอบและมี โซลูชัน Digital Crafter ที่ช่วยให้คุณทำการตลาดดิจิทัลได้ครบทุกช่องทาง

ติดต่อเราเพื่อปรึกษาสิ่งที่คุณต้องการทำให้กับธุรกิจ เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย