Cover บทความ Technical SEO

การทำ Technical SEO คืออะไร? มีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง?

mins read   1stCraft Team

การทำ Technical SEO ถือเป็นพลังสำคัญ ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถติดอันดับการค้นหาบนหน้า Google ได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง

สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการไต่อันดับการค้นหาในรูปแบบ Organic มาทำความรู้จักกับ Technical SEO ที่เปรียบเสมือนเบื้องหลังความสำเร็จของการทำ SEO พร้อมเทคนิคปรับปรุงเว็บไซต์ให้ Google รักได้มากยิ่งขึ้น

Technical SEO คืออะไร? สำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร?

Technical SEO คืออะไร? สำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร?

Technical SEO คือ เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถไต่อันดับขึ้นสู่หน้าค้นหาบน Google หรือ Search Engine อื่นๆ ได้ เป็นส่วนหนึ่งและมีความสอดคล้องควบคู่ไปกับการทำ On-Page SEO อีกด้วย

โดยการใช้เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยให้ Bot ของ Google หรือ Search Engine อื่นๆ สามารถทำการอ่านเนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้ง่ายและเข้าใจว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์เป็นเรื่องอะไร (Crawl) จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการเรียบเรียงและจัดเก็บเอาไว้ (Index) เพื่อจะนำมาแสดงผลบนหน้าค้นหา เมื่อมีคนค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวข้อง 

ตัวอย่างของการทำ Technical SEO 

  • การส่งโครงสร้างของเว็บไซต์ (Sitemap) ไปให้กับ Google เพื่อให้ Bot เข้ามาอ่านและนำไปจัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์
  • การวางโครงสร้างให้เนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์มีความ SEO-Friendly ช่วยให้ Bot เข้าใจว่าเนื้อหาของเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับอะไร
  • การเพิ่มความเร็วในการโหลดและแสดงผลให้กับเว็บไซต์
  • การทำให้เว็บไซต์สามารถแสดงผลได้ดีบนมือถือ
  • การปรับปรุงเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ให้สดใหม่อยู่เสมอ รวมถึงการแก้ไขเนื้อหาที่ซ้ำกันภายในเว็บไซต์

Technical SEO สำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร?

ในขั้นตอนของการทำเว็บไซต์ให้สามารถติดอันดับของการค้นหาได้ นอกเหนือจากการทำ Keyword Research และการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ค้นหาแล้ว ถ้าหากยังไม่มีการทำ Technical SEO เว็บไซต์ของธุรกิจคุณก็จะติดอันดับการค้นหาได้ยาก 

การทำ Technical SEO จึงเป็นเหมือนกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เว็บไซต์ธุรกิจสามารถไต่อันดับขึ้นสู่หน้าแรกของการค้นหาได้ 

เพราะขั้นตอนต่างๆ ในการลงมือทำ Technical SEO จะช่วยให้คุณเห็นว่าเว็บไซต์ธุรกิจต้องปรับปรุง หรือแก้ไขในจุดใดบ้าง เพื่อทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น และพร้อมสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ไม่ว่าจะเข้าชมจากอุปกรณ์ใดก็ตาม

Technical SEO ต้องรู้จักอะไรบ้าง

1. Crawling – การทำให้เว็บไซต์ง่ายต่อการ “ไต่” เพื่อเก็บข้อมูล

ในข้อแรกเป็นการทำความเข้าใจกับการเก็บข้อมูล ซึ่งจะไม่ใช่การเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานหรือคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ แต่จะเป็นการเก็บข้อมูลของ Google Bot ที่จะเข้ามาทำการ “ไต่” (Crawl) เนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ของคุณ เพื่อทำการอ่านและเก็บข้อมูลที่แสดงบนเว็บไซต์

ภาพ หลักการทำงานของ Google Bot ขอบคุณรูปภาพจาก semrush.com
ภาพ หลักการทำงานของ Google Bot ขอบคุณรูปภาพจาก semrush.com

หลักการทำงานของ Google Bot

  • เมื่อเว็บไซต์มีการสร้าง Blog บทความใหม่ หรือมีการอัปเดตเนื้อหาบนเว็บไซต์
  • Google จะส่ง Bot หรือที่เรียกกันว่า “แมงมุม” (Spiders) เข้ามาไต่บนเว็บไซต์ (Crawl) เพื่อทำการอ่านและวิเคราะห์ว่าเนื้อหานั้นเกี่ยวกับอะไร
  • จากน้ันข้อมูลบนหน้าเว็บเพจนั้นจะถูกทำการบันทึกลงในฐานข้อมูลของ Google
  • ถ้าหากมีผู้ใช้งานค้นหาด้วยคำค้นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บเพจ Google จะเลือกนำมาแสดงผล โดยถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีการทำ Technical SEO จนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะมีโอกาสที่เว็บเพจหน้านั้นจะได้แสดงบนอันดับแรกๆ ของการค้นหา

Google จะปล่อย Bot มาไต่บนเว็บไซต์ตอนไหน?

การไต่ของ Bot จะเกิดขึ้นเมื่อ Google เคยเข้ามาอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ของเราไปแล้ว และเมื่อมีการสร้างหน้าเว็บเพจใหม่ เช่น หน้าบทความใหม่ ทาง Google ก็จะปล่อยให้ Bot เข้ามาอ่านเพื่อนำข้อมูลไปบันทึกลงฐานข้อมูล และทุกๆ ครั้งที่มีการสร้างหน้าเว็บเพจใหม่บนเว็บไซต์ กระบวนการนี้ก็จะเกิดขึ้นใหม่ 

ซึ่งถ้ามีการปรับแต่งให้เว็บไซต์ของธุรกิจ สามารถเข้าถึงและถูก Bot อ่านข้อมูลได้ง่าย โอกาสที่หน้าเว็บเพจแต่ละหน้าจะถูกนำไปแสดงผลบนหน้าค้นหาก็มีมากขึ้น

2. Indexing – การ “บันทึกข้อมูล” บนเว็บลงฐานข้อมูล

เมื่อ Bot ของ Google เข้ามาเก็บข้อมูลบนหน้าเว็บเพจแล้ว ข้อมูลต่างๆ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ Google ที่รวบรวมหน้าเว็บเพจเอาไว้มากกว่าพันล้านหน้า 

หากคุณต้องการเช็คว่าเว็บไซต์ของธุรกิจ มีหน้าไหนบ้างที่ถูก Index ลงไปในฐานข้อมูลแล้ว สามารถค้นหาได้ผ่านช่องค้นหาของ Google โดยพิมพ์คำว่า “site:(โดเมนของเว็บไซต์)” 

เช่น “site:www.1stcraft.com” แล้วกดค้นหา จากนั้น Google จะแสดงจำนวนให้ดูว่ามีหน้าเพจจำนวนเท่าไหร่ที่ถูกนำไป index เพื่อรอให้ถูกค้นหาบ้าง

นอกจากนี้ยังสามารถดูแบบแยกตามหน้าเว็บเพจได้ด้วย เพื่อเช็คว่าเว็บเพจที่สร้างขึ้นมาแล้ว ได้รับการ Index ไปที่ฐานข้อมูลแล้วหรือยัง ด้วยการพิมพ์ “site:(ลิงก์ของเว็บเพจหน้าที่ต้องการ)”

ขั้นตอนการทำ Technical SEO บนเว็บไซต์ ติดสปีดขึ้นหน้าแรก

มาดูกันว่ามี Technical SEO แบบไหนบ้าง ที่สามารถนำไปปรับแต่งเว็บไซต์ของธุรกิจให้สามารถทะยานขึ้นสู่หน้าแรกได้เร็วขึ้น

1. การวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้มีความ SEO-Friendly

โครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) เป็นการวางแผนผังของเว็บไซต์ที่ทำให้เห็นว่าหน้าแต่ละหน้าบนเว็บไซต์มีอะไรบ้างและเชื่อมโยงกันอย่างไร ซึ่งการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีจะช่วยให้การไต่ของ Bot ทำได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

เคล็ดลับในการวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ SEO-Friendly

เคล็ดลับในการวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ SEO-Friendly
ภาพ การออกแบบ site structure ขอบคุณรูปภาพจาก backlinko.com

ไม่สร้างหน้าย่อยเยอะเกินไป และหน้าทั้งหมดไม่อยู่ห่างจากหน้า Homepage มากเกินไป

เช่น จากหน้า Homepage ก็ลิงก์ไปสู่หน้า Category Page ต่างๆ บนเว็บไซต์ ซึ่งจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อบนเว็บไซต์ และ Category Page ต่างๆ ก็ลิงก์ไปยังหน้าย่อยในหมวดหมู่ตนเอง

ข้อดีของการวางโครงสร้างเว็บไซต์แบบนี้ จะง่ายต่อการทำความเข้าใจของ Google Bot รวมถึงช่วยในการแก้ไขปัญหา Orphan Pages หรือหน้าเพจที่ไม่มีลิงก์ไปถึงได้ ช่วยให้คุณสามารถสร้างการเชื่อมต่อไปยังหน้าเพจนั้น หรือลบออกไปเพื่อทำให้โครงสร้างของเว็บไซต์เป็นระเบียบมากขึ้น

2. การส่งโครงสร้างของเว็บไซต์ (Sitemap) ไปให้กับ Google

อย่างที่ได้พูดถึงไปตอนต้นว่า Google จะส่ง Bot เข้ามาที่เว็บไซต์ของเรา เมื่อเว็บไซต์ของเราเคยถูกเข้ามาอ่านข้อมูลแล้ว นั่นหมายความว่า เราจำเป็นต้องส่ง โครงสร้างของเว็บไซต์ (Sitemap) ไปให้กับ Google เพื่อให้ Bot ได้เข้ามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์ก่อน

โครงสร้างของเว็บไซต์ หรือ Sitemap จะเป็นไฟล์รูปแบบ XML ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญของหน้าเพจต่างๆ บนเว็บไซต์ของคุณ โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงเป็น URLs เช่น

  • 1stwebsite.com/sitemap.xml
  • 1stwebsite.com/sitemap_index.xml

และเมื่อเจอกับไฟล์นี้แล้ว เราจะสามารถนำไปส่งให้กับ Google ผ่าน Google Search Console ด้วยวิธีการดังนี้

  • ไปที่ Google Search Console
  • เลือกเมนู Indexing > Sitemap
  • คัดลอก URL ของ Sitemap ไปวางในช่อง จากนั้นกด Submit
  • รอการประมวลผล และเมื่อขึ้นสถานะ Success นั่นคือกระบวนการส่งไปตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

3. การเพิ่มความเร็วการโหลด (Page Speed)

ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์เวอร์ชั่น Desktop หรือเวอร์ชั่นมือถือ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าค้นหา โดยเว็บไซต์ที่โหลดได้ช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะส่งผลต่อประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ใช้งานที่เข้าชมเว็บไซต์ ที่อาจต้องรอนานเกินไป จนทำให้ต้องกดออกจากเว็บและอาจจะไม่ไม่กลับเข้ามาชมเว็บไซต์อีก

วิธีการเช็ดความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ สามารถเช็คได้ที่ PageSpeed Insights โดยเมื่อกรอก URL ของเว็บไซต์ลงไปแล้ว ระบบจะทำการวิเคราะห์และให้คะแนนความเร็วในการโหลดตั้งแต่ 0-100 ซึ่งได้ตัวเลขมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อเว็บไซต์มากท่านั้น

เคล็ดลับในการเพิ่มความเร็วให้เว็บไซต์โหลดได้ลื่นมากยิ่งขึ้น

  • บีบอัดไฟล์ภาพให้เล็กลง โดยไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ เมื่อใส่ลงไปบนเว็บไซต์แล้ว จะทำให้ต้องใช้เวลาในการโหลดเพื่อแสดงผลภาพนานขึ้น และถ้ามีภาพขนาดใหญ่จำนวนมากในหน้าเว็บเพจเดียว ก็อาจต้องเสียเวลาในการรอนานยิ่งขึ้น ดังนั้น การบีบอัดภาพก่อนอัปโหลดลงบนเว็บจะช่วยลดปัญหานี้ได้ หรือจะใช้การติดตั้ง Plug-in ที่บีบอัดภาพอัตโนมัติเมื่ออัปโหลดลงเว็บไซต์ก็ได้เช่นกัน ทำความรู้จักกับ Imagify ได้ที่บทความนี้เลย
  • ลดขนาดไฟล์ HTML, CSS และ JavaScript ลดขนาดไฟล์สามารถทำได้ด้วยการจัดระเบียบโค้ดต่างๆ ให้เป็นระเบียบขึ้น ลบอักขระที่ไม่จำเป็นออก หรือลบช่องว่างออกจากโค้ด จะช่วยให้การโหลดเว็บไซต์เร็วขึ้นได้
  • ใช้งาน CND สำหรับเว็บไซต์ที่จะมีผู้เข้าชมในต่างประเทศด้วย ถ้าหากไม่มีการติดตั้ง CDN ก่อน จะทำให้ผู้ใช้งานที่อยู่ไกลรอโหลดข้อมูลจาก Hosting นานขึ้น โดยการติดตั้ง CND จะทำให้มีการเก็บแคชของเนื้อหา กระจายไปตามเซิฟเวอร์ในพื้นที่ต่างๆ รอบโลก จึงช่วยให้ผู้ใช้งานในต่างประเทศไม่ต้องรอโหลดเว็บไซต์นาน

4. ใช้งาน https

การใช้งาน https เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google 

ซึ่งการใช้งาน https เป็นเวอร์ชั่นของ http ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ช่วยผู้ใช้งานที่เข้ามาบนเว็บไซต์ของคุณ ได้รับการปกป้องข้อมูลได้อย่างปลอดภัย เช่น Password, หมายเลขเครดิตการ์ด

สำหรับการเช็คว่าเว็บไซต์ของคุณมีการใช้งาน https แล้วหรือไม่ สามารถดูได้จากช่อง address bar 

ใช้งาน htpps
ภาพ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ทำ https แล้ว
  • ถ้าด้านหน้าของลิงก์มีเครื่องล็อคกุญแจ นั่นหมายถึงเว็บไซต์มีการทำ https แล้ว
  • ถ้าหน้าลิงก์ของเว็บไซต์ขึ้นคำว่า “Not Secure” นั่นหมายถึงเว็บไซต์ยังไม่ได้ทำ https

ในกรณีที่ยังไม่ได้ทำ ให้ทำการติดตั้ง SSL Certificate ลงไป ซึ่งจะเป็นใบรับรองความปลอดภัยอิเล็คทรอนิกส์ จากนั้นเว็บไซต์จะขึ้น https 

5. ตรวจสอบการตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือ (Mobile-Friendly)

เว็บไซต์ที่ทำเวอร์ชั่นให้ตอบสนองบนมือถือ มีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์บนหน้าค้นหา เนื่องจาก Google ใช้การ Index ข้อมูลโดยให้ความสำคัญกับ Mobile First ก่อน 

ดังนั้น ในการทำเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือด้วย โดยคุณสามารถตรวจสอบได้ว่า หน้าเพจต่างๆ บนเว็บตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือหรือไม่ ผ่านการเช็คข้อมูลบน Google Search Console > Mobile Usability

จากนั้นระบบจะแสดงจำนวนหน้าเว็บเพจที่ตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือ พร้อมกับปัญหาและคำแนะนำในการแก้ไข เพื่อให้คุณปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้มากที่สุด

6. ตรวจสอบเนื้อหาที่ซ้ำกัน (Duplicate Content)

เนื้อหาที่ซ้ำกัน (Duplicate Content) คือ คอนเทนต์หรือเนื้อหาที่ซ้ำกัน เกือบจะซ้ำกัน หรือมีการก้อปปี้เนื้อหาแล้วมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย ที่ปรากฏบนหน้าเพจที่ต่างกันบนเว็บไซต์เดียวกัน 

โดยทาง Google ไม่ได้มีบทลงโทษต่อเว็บไซต์ที่สร้าง Duplicate Content แต่การสร้างเนื้อหาที่ซ้ำกันอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น หน้าเพจอาจขึ้นอันดับได้ไม่ดีบนหน้าค้นหา ประสิทธิภาพของการ Crawl และ Index บนเว็บไซต์ที่ลดลง

7. แก้ไขตามคำแนะนำของ Core Web Vitals

สำหรับ Core Web Vitals เป็นหนึ่งในมาตรวัดประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) ที่เข้าชมเว็บไซต์ของเรา ประกอบไปด้วย 3 หัวข้อ คือ

  • Loading ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์
  • Interactivity การตอบสนองของเว็บ
  • Visual Stability ความเสถียรของเว็บไซต์ในเรื่องของดีไซน์

โดยการตรวจสอบ Core Web Vitals สามารถเช็คได้ผ่าน Google Search Console > Experience > Core Web Vitals > View Details

จากนั้นระบบจะแสดงผลของ Core Web Vitals ว่าประสิทธิภาพของประสบการณ์ที่มีต่อผู้ใช้งานเว็บไซต์เป็นอย่างไรบ้าง พร้อมรายงานปัญหา และวิธีแก้ไข เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณตอบโจทย์ผู้เข้าชมได้มากยิ่งขึ้น

บริการ Technical SEO โดย 1st Craft

หากคุณมีเว็บไซต์ธุรกิจที่ไม่ว่าจะเปิดมานานแล้ว เพิ่งเปิดได้ไม่นาน หรือกำลังอยู่ในระหว่างการสร้างเว็บไซต์ และต้องการผู้ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ พร้อมลงมือทำ SEO ให้เว็บไซต์ธุรกิจสามารถไต่อันดับขึ้นสู่หน้าค้นหาของ Google ได้

ที่ 1st Craft เรามีบริการ SEO Marketing โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์ ที่สามารถปรับแต่ง Technical SEO ให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ธุรกิจของคุณ พร้อมทะยานขึ้นสู่หน้าแรกของการค้นได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

หากคุณต้องการปรึกษา สามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามและพูดคุยถึงโซลูชันเพิ่มเติมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่ครับ