1stcraft-cover-บทความ ที่ปรึกษาการตลาด

ที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consultant) คืออะไร? มีหน้าที่อะไรบ้าง?

mins read   1stCraft Team

บริษัทหรือแบรนด์ที่เริ่มทำการตลาดไปแล้ว แต่ยังได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจนักหรือต้องการข้อมูลและไอเดียใหม่ๆ หากต้องการสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม 

การมองหา ที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consultant) เพื่อขอคำแนะนำและร่วมกันวางแผน ซึ่งการใช้ที่ปรึกษาการตลาดก็ถือเป็นตัวเลือกที่อาจจะเหมาะกว่าการจ้างพนักงานใหม่เข้ามาในหลายกรณี 

สำหรับบทความนี้ เราจะมาเจาะลึก ทำความรู้จักบริการที่ปรึกษาการตลาดกันให้ดีขึ้น แล้วสถานการณ์แบบไหนถึงน่าจะเลือกใช้บริการที่ปรึกษาการตลาด จ้างแล้วได้อะไร เรารวบรวมมาให้อ่านด้านล่างนี้แล้ว

อ่านตามหัวข้อ

ที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consultant) คืออะไร?

ที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consultant) คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำการตลาด โดยมีหน้าที่ต่างๆ ได้แก่

  • ช่วยเหลือแบรนด์หรือบริษัทในการให้คำปรึกษา 
  • รีเสิร์ชและวิเคราะห์ตลาด (Marketing Research) 
  • กำหนดเป้าหมายทางการตลาด 
  • วางแผนการตลาด 
  • ช่วยบริษัทให้เริ่มต้นทำการตลาดได้ 

รวมไปถึงช่วยติดตามผลเพื่อปรับปรุงแผนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

โดยส่วนใหญ่บริษัทหรือแบรนด์ที่ต้องการที่ปรึกษาการตลาด มักจะต้องการความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการตลาดของที่ปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้อคิดเห็นจากคนนอก” ที่มีประโยชน์ เพราะที่ปรึกษาการตลาดมักจะมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และเป็นคนนอกที่อาจจะสามารถมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาหรือโอกาสที่คนในอาจมองข้ามไปได้ ทำให้แบรนด์หรือบริษัทได้ไอเดียใหม่ๆ หรือวิธีการที่ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

หน้าที่ของที่ปรึกษาการตลาดโดยทั่วไปแล้ว มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของที่ปรึกษาการตลาดโดยทั่วไปแล้ว มีอะไรบ้าง

หน้าที่หรือขอบเขตการทำงานของที่ปรึกษาการตลาดของแต่ละเจ้าหรือแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป และอาจแตกต่างกันไปตามข้อตกลงการจ้างงาน บางแบรนด์อาจต้องการจ้างที่ปรึกษาให้ช่วยแนะนำสำหรับบางแคมเปญการตลาด จ้างให้ช่วยคิดแผนการตลาดสำหรับบางช่องทางเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หน้าที่หลักๆ ของที่ปรึกษาการตลาดจะอยู่ในขอบเขตการทำงานต่างๆ ทั้ง 10 ข้อนี้ 

  1. ทำความเข้าใจแบรนด์ ผลลัพธ์การตลาด และแผนการตลาดที่ผ่านมา พร้อมกับประเมินกลยุทธ์และวิเคราะห์เพื่อหาวิธีปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น
  1. ช่วยหาลูกค้าใหม่ให้กับแบรนด์ (Customer Acquisition) ออกแบบกลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้าใหม่และกลุ่มลูกค้ามุ่งหวัง (Leads) 
  1. ปรับปรุง Sales Funnel ยกระดับการเข้าถึงลูกค้าในแต่ละช่วงการตัดสินใจ ให้สามารถดึงดูด/เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ฟูมฟักให้ลูกค้าพร้อมซื้อ ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้นไปสู่การปิดการขายได้จริง
  1. ให้คำแนะนำการทำการตลาดในช่องทางต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เช่น อีเมล เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย การตลาดบนหน้าค้นหา (Search Engine Marketing) ฯลฯ
  1. ช่วยแนะนำการทำโฆษณาทั้งสื่อดั้งเดิมและ Digital Marketing แนะนำว่า ควรใช้งบประมาณโฆษณาอย่างไรและกับช่องทางใดบ้าง เพื่อให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายทางการตลาด
  1. วางกลยุทธ์การตลาดในแต่ละช่องทาง เช่น Email Marketing, Social Media Marketing, Content Marketing ฯลฯ รวมไปถึงแผนการตลาดโดยรวมที่ผสานระหว่างช่องทางต่างๆ (Crossed Channels) 
  1. วางกลยุทธ์แบรนด์ (Brand Strategy) วิเคราะห์และประเมิน Brand Position และออกแบบสื่อการตลาดที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มการโต้ตอบระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย กระตุ้นให้เกิด Action ที่แบรนด์ต้องการ เช่น การซื้อสินค้า การขอข้อมูล การจองเวลาเพื่อขอคำปรึกษา ฯลฯ
  1. วิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด (Data Analysis) ช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์และแผนการตลาดที่ผ่านมา หาจุดที่สามารถปรับปรุงได้ และหาโอกาสในการทำการตลาดที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
  1. ช่วยวางระบบการทำการตลาด เช่น การวางระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) วางระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) วางระบบการติดตามข้อมูลการตลาด (Data Tracking) 
  1. ช่วยจัดสรรงบประมาณการตลาด (Budget Allocation) ช่วยตัดสินใจการลงงบประมาณไปกับการทำการตลาดในส่วนต่างๆ และการทำโฆษณาตามงบประมาณที่ตั้งไว้ บริหารงบให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้สูงที่สุด 

ทำไมบริษัทถึงต้องจ้างที่ปรึกษาการตลาด?

คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ สำหรับบริษัทไม่มีทรัพยากรบุคคลและเวลาเพียงพอที่จะลงมือคิด หาไอเดีย และวางกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการทำการตลาด ซึ่งการเลือกใช้บริหารที่ปรึกษาการตลาดจะช่วยให้บริษัทหรือแบรนด์สามารถรันบริษัทไปได้ ในขณะที่มีทีมคอยวางแผนการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ต่อไป 

นอกจากนี้ ความสำคัญของการจ้างที่ปรึกษาการตลาด คือ เมื่อบริษัทกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง อยู่ในสถานกาณร์ที่มีความผกผันสูง การมีคนนอกที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ จะช่วยให้บริษัทแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ในขณะที่มีคนช่วยมองเห็นโอกาสและวิธีการใหม่ๆ ไปด้วย 

ที่ปรึกษาการตลาดจะคอยช่วยบริษัทกำหนดเป้าหมายทางการตลาดที่สดใหม่ นำเสนอวิธีการใหม่ๆ ในสื่อสารกับลูกค้า หรือปรับปรุงวิธีการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นด้วยประสบการณ์และความรู้ในสายงานที่ผ่านมา ออกมาเป็นกลยุทธ์และแผนธุรกิจหรือแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อไหร่ที่บริษัทควรจ้างที่ปรึกษาการตลาด

เมื่อไหร่ที่บริษัทควรจ้างที่ปรึกษาการตลาด

สำหรับบริการที่ปรึกษาการตลาดก็มีให้เลือกทั้งที่ปรึกษาอิสระ (freelancer) และองค์กรหรือเอเจนซีที่ให้บริการที่ปรึกษาการตลาด ซึ่งขอบเขตและความสามารถในการทำงานก็แตกต่างกัน เรตราคาในการจ้างมาก-น้อยแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก Startup บริษัทระดับกลาง หรือแบรนด์ยักษ์ใหญ่ ก็สามารถจ้างที่ปรึกษาการตลาดได้ หากแบรนด์/บริษัทกำลังเผชิญกับสถานการณ์หรือมีความต้องการต่อไปนี้

1. แบรนด์หรือบริษัทขาดความเชี่ยวชาญ

สำหรับข้อนี้ อาจเป็นไปได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น

  • บริษัทเพิ่งก่อตั้งใหม่ เป็น Startup เพิ่งเริ่มกิจการ และยังขาดประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่เพิ่มตั้งต้นทำ 
  • บริษัทที่เคยทำการตลาดด้วยตัวคนเดียว กำลังฟอร์มทีมขึ้นมา แล้วทีมยังขาดประสบการณ์ ต้องการคนช่วยให้คำแนะนำและให้ทีมได้เรียนรู้ 
  • แบรนด์หรือบริษัทต้องการเปิดตลาดใหม่หรือแตกไลน์สินค้าที่ไม่เคยทำ 

การพึ่งพาความรู้และประสบการณ์ของที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและรู้จักตลาดดีกว่า 

2. เมื่อบริษัทกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนหรือวิกฤต

ในระหว่างที่บริษัทรับมือกับวิกฤต ทีมอาจจะต้องโฟกัสในการรับมือปัญหาและเรื่องมากมายที่ต้องรีบทำ ทำให้วิสัยทัศน์ในการตัดสินใจไม่เฉียบคมเท่าเดิม ในช่วงนี้ การจ้างที่ปรึกษาการตลาดเข้ามาแก้ปัญหาอาจช่วยให้บริษัทได้วิธีในการรับมือปัญหาแบบใหม่ๆ หรือมองเห็นโอกาสในช่วงวิกฤตก็เป็นได้ 

และยิ่งในช่วงที่เกิดจุดเปลี่ยนในการดำเนินธุรกิจขึ้น บริษัทอาจต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และเป้าหมาย (Vision & Goal) ในการทำการตลาดใหม่ทั้งหมด ที่ปรึกษาการตลาดสามารถช่วยให้คำแนะนำด้วยสายตาสดใหม่ได้

3. ธุรกิจและตัวเลขทางการตลาดไม่เติบโต

เมื่อดำเนินธุรกิจมาถึงจุดหนึ่ง บริษัทหรือแบรนด์อาจรู้สึกว่าถึงทางตัน หรือการทำการตลาดแบบเดิมๆ เริ่มไม่ได้ผลและขาดไอเดียในการทดลองทำการตลาดรูปแบบใหม่ บริษัทอาจใช้บริการที่ปรึกษาการตลาดเพื่อปรึกษาไอเดียและวิธีการใหม่จากที่ปรึกษา 

เพราะที่ปรึกษาการตลาดมักจะมีความรู้ความเข้าใจตลาด มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือธุรกิจมาแล้วหลากหลายธุรกิจ ช่วยให้บริษัทประหยัดเวลาในการทดลองไอเดีย 

4. ROI ได้ไม่ถึงเป้าหรือไม่สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้

หากธุรกิจทำ ROI (Return on Investment) ได้ไม่ตามเป้าหรือที่คาดการณ์ไว้จากแผน รู้สึกว่าใช้งบประมาณการตลาดไปอย่างสิ้นเปลือง อาจเป็นสัญญาณ “ธงแดง” ว่าน่าจะเกิดปัญหาบางอย่าง 

ที่ปรึกษาการตลาดที่มีประสบการณ์อาจช่วยวิเคราะห์สาเหตุว่าเกิดปัญหาที่ตรงไหน พร้อมกับช่วยตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณการตลาดใหม่ เกลี่ยงบประมาณไปใช้กับช่องทางที่มีโอกาสสร้างผลลัพธ์มากกว่า หรือเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดเป็นกลยุทธ์ที่ใช้งบน้อยลง แต่ได้ผลมากขึ้น

5. บริษัทหรือแบรนด์ขาดข้อมูล/ไม่ได้ติดตามข้อมูล

ในยุคนี้ การมีข้อมูลและสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้สามารถสร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทและแบรนด์ได้อย่างมหาศาล ในทางกลับกันการที่บริษัทไม่มีข้อมูล เช่น ไม่มีข้อมูลลูกค้าที่เพียงพอ ไม่รู้จักลูกค้า ไม่มีข้อมูลการใช้งบประมาณ วัดผลลัพธ์ไม่ได้ ฯลฯ จึงไม่รู้ว่า สิ่งใดทำแล้วได้ผล-ไม่ได้ผล 

ที่ปรึกษาการตลาดเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ต้องวัดผลลัพธ์เพื่อรายงานอยู่เสมอ บริษัทที่ขาดระบบการติดตามข้อมูล อาจจ้างที่ปรึกษาการตลาดให้ช่วยวางระบบได้

ข้อดีของการจ้างที่ปรึกษาการตลาด

ตอนนี้คุณคงจะพอเห็นภาพแล้วว่า บริษัทของคุณน่าจะจ้างหรือไม่จ้างที่ปรึกษาการตลาดมาช่วยงานของคุณ แต่นอกจากเหตุผลเหล่านั้น เราอยากแนะนำอีก 3 ข้อดี ที่โดดเด่นของการใช้บริการที่ปรึกษาการตลาด

1. ที่ปรึกษาการตลาดที่ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์

ที่ปรึกษาการตลาดเป็นคนที่ทำงานด้านการตลาดโดยเฉพาะและผ่านประสบการณ์การให้คำปรึกษา และช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ในการทำการตลาด จึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่สั่งสมจากการทำงานร่วมกับธุรกิจที่หลากหลายและจากการที่รู้จักตลาดเป็นอย่างดี 

ที่ปรึกษามืออาชีพจะสามารถให้คำแนะนำและข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์กับการทำการตลาด ช่วยหาวิธีการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ สามารถมองเห็นปัญหาและสิ่งที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เร็วกว่า นอกจากนี้ ยังช่วยบริษัทตัดสินใจอะไรได้เร็วและมีน้ำหนักมากขึ้นด้วย

2. ช่วยบริษัทประหยัดเวลาและงบประมาณ

การทำการตลาดใช้งบประมาณค่อนข้างมากและอาจกินสัดส่วนงบประมาณต่างๆ ถึง 1 ใน 3 หากบริษัทไม่แน่ใจวิธีการทำการตลาดที่กำลังจะใช้ ว่างบประมาณเท่านี้ด้วยระยะเวลาเท่านี้ จะคุ้มค่าหรือไม่ 

ที่ปรึกษาการตลาดที่มีประสบการณ์มาก่อนจะช่วยชี้แนะได้ว่า วิธีการไหนน่าจะได้ผล-ไม่ได้ผล และช่วยให้บริษัทหรือแบรนด์ไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณในการทดลองวิธีการทำการตลาด

3. ที่ปรึกษาการตลาดมีเครือข่ายที่สามารถแนะนำได้

อีกข้อดีที่โดดเด่นที่สุดของการใช้บริการที่ปรึกษาการตลาด คือ การที่ที่ปรึกษารู้จักเครือข่ายธุรกิจต่างๆ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “มีคอนเนกชันเยอะ” ทำให้บริษัทที่ใช้บริการ มีโอกาสได้รู้จักธุรกิจและพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ รวมไปถึงสามารถขอให้ที่ปรึกษาแนะนำบริษัทให้กับพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ หรือผู้ร่วมงานที่บริษัทกำลังตามหา เช่น SEO Specialist, Content Manager, Account Manager ฯลฯ

แนะนำบริการที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consulting Service)

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว บริษัทจะตามหาที่ปรึกษาการตลาดมืออาชีพที่เหมาะกับบริษัทอย่างไร?

วิธีการที่ดีที่สุดที่ทำได้ คุณอาจจะเริ่มรีเสิร์ชหาที่ปรึกษาการตลาดว่ามีใครบ้าง จากนั้นแนะนำให้ค่อยๆ ทำความรู้จัก ดูผลงานของเขา และเมื่อสนใจ แนะนำให้สอบถามถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา พร้อมกับสอบถามสาขาที่เชี่ยวชาญ 

เพราะที่ปรึกษาแต่ละเจ้าก็จะมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์และตลาดที่ต่างกันออกไป เมื่อได้ที่ปรึกษาที่สนใจแล้ว อาจนัดพูดคุยเพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ เช่น

  • แจ้งปัญหาหรือสิ่งที่อยากให้ช่วยแนะนำ เพื่อขอทราบไอเดียหรือโซลูชันคร่าวๆ
  • ขอให้ช่วยประเมินเวลาและคาดการณ์ผลลัพธ์ที่น่าจะทำได้
  • พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เป็นกรณีจริง เพื่อให้แน่ใจว่า มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

สำหรับ 1stCraft เราเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการจัดการข้อมูลและให้บริการ Digital Crafter ให้คำปรึกษาด้านการตลาดและช่วยบริษัทวางกลยุทธ์การตลาดแบบ “Result-driven strategy” ด้วยประสบการณ์ทำการตลาดให้กับบริษัทต่างๆ พร้อมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

หากบริษัทของคุณต้องการที่ปรึกษาการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถวางกลยุทธ์การตลาดที่เน้นสร้างผลลัพธ์และใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด สามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามและพูดคุยถึงโซลูชันเพิ่มเติมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่ครับ