Cover_บทความ supply chain คืออะไร

Supply Chain คืออะไร? อุตสาหกรรมควรประยุกต์ใช้แบบไหน?

mins read   1stCraft Team

Supply Chain คืออะไร สำคัญขนาดไหน ขอบอกเลยว่ามันเปรียบเสมือนตัวชี้เป็นชี้ตายสำหรับธุรกิจต่างๆ เลยก็ว่าได้ น่าเสียดายที่ผู้ประกอบการหลายรายแม้ว่าจะรู้จักมันแต่กลับไมไ่ด้ให้ความใส่ใจกับ Supply Chain เท่าที่ควร ดังนั้นวันนี้เราจะมาแถลงไขเกี่ยวกับเรื่องของ Supply Chain ว่ามันคืออะไร และการประยุกต์ใช้ Supply Chain จะสามารถทำรูปแบบไหนได้บ้าง 

ทำความเข้าใจ Supply Chain แบบง่ายๆ 

Supply Chain หรือในชื่อไทยคือห่วงโซ่อุปทาน คือกระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าใดสินค้าหนึ่งขึ้นมา หรือบริการใดบริการหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการ (Demand) ของเหล่าลูกค้าต่างๆ โดยกระบวนการดังกล่าวจะมีรูปแบบและการจัดการแยกย่อยออกไป แล้วแต่ว่าเรากำลังผลิต Supply ใดขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้ซื้อ 

การจัดการ Supply Chain มีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตามมักจะมีการเอ่ยถึง 5 ส่วนหลักๆ ซึ่งก็คือ

  1. Suppliers: ผู้สนับสนุนด้านวัตถุดิบ
  2. Manufacturers: ผู้ผลิต
  3. Wholesalers: ผู้กระจายสินค้า
  4. Retailers: ผู้ค้าปลีก
  5. Customer: ผู้บริโภค

ดังที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีการแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก แต่ในเชิงการทำงานแล้ว ในการทำงานจริงก็จะมีการแบ่งแยกย่อยออกไป ตามแต่การจัดการของผู้ประกอบการ เช่น กระบวนการของซัพพลายเออร์ก็จะมีทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง และการจัดหาผู้ขาย การนำเข้าวัตถุดิบเองก็จะแยกย่อยออกไปเป็นการเก็บรักษา การซื้อเพื่อใช้ในทันที รวมไปถึงการกระจายสินค้าเองก็ต้องผ่านการวางแผนการผลิตเช่นกัน

ชัดเจนว่าหากเราแบ่งกันตามจริง Supply Chain จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากสูง ทำให้เกิดการทำงานของ Supply Chain Management (SCM) ขึ้น ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายรายย่อย รวมไปถึงลูกค้าไว้ในที่เดียว ให้สามารถบริหารจัดการคลังสินค้า ลูกค้า หรือการบริหารจัดการภายในองค์กร สามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน 

Supply Chain ในปัจจุบัน

รูปภาพภายในบทความ Supply chain คืออะไร

องค์ความรู้เกี่ยวกับ Supply Chain มีมาช้านาน แต่ด้วยการปรับเปลี่ยนของธุรกิจต่างๆ ทำให้เหล่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งที่ๆ เดิมทีจะมีเพียงพ่อค้าแม่ค้าเท่านั้นที่คิดคำนวนเรื่องนี้แบบจริงจัง

Supply Chain ในปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ประยุกต์ใช้และเทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงการจัดการ Supply Chain ได้ ทั้งความรู้และอุปกรณ์ นั่นทำให้เกิดการพัฒนาเกี่ยวกับ Supply Chain ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Supply Chain

ขึ้นชื่อว่าเทคโนโลยีย่อมมีส่วนร่วมกับชีวิตเราไม่มากก็น้อย และนี่คือเทคโนโลยีที่คุณรู้จักแต่อาจไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับ Supply Chain โดยตรง ซึ่งครอบคลุมทั้ง 5 ประเด็นที่กล่าวมา Suppliers, Manufacturers Wholesalers, Retailers หรือ Customer

  1. เทคโนโลยีด้านการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นรถขนส่งรูปแบบใหม่ การเข้ามาของเครื่องบินขนส่งสินค้า ทุกอย่างล้วนทำให้การสั่งสินค้าจากในและต่างประเทศเป็นไปได้ง่ายขึ้น หากเราสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้ดี เราอาจไม่จำเป็นต้องขยับออกจากบ้านเพื่อสั่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศ หรือส่งออกไปต่างประเทศด้วยซ้ำไป อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สินค้าบางประเภทที่เน่าเสียง่าย สามารถออกขายที่อื่นมากขึ้นในเวลาอันสั้นด้วย
  2. แพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนโลกของการสื่อสารไปโดยปริยาย และได้เปลี่ยนเกี่ยวกับการค้าขายด้วย การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ทำให้เราต้องจัดการ Supply Chain ให้ดียิ่งขึ้น ไวยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นการสต๊อกของเผื่อแบบสมัยก่อน เราจำเป็นต้องมีการจัดการเป็นเดือน ไตรมาส หรือบางทีก็วันต่อวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด
  3. เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลสมัยใหม่ Big Data และ Cloud Storage มีบทบาทมากในส่วนนี้ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าที่กำลังผลิต รวมถึงการจัดซื้อวัสดุที่ทำให้เราสามารถทำได้ รวดเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก
  4. เทคโนโลยีภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ Automation หรือเทคโนโลยีการจัดการและการตรวจสอบในโรงงาน ก็ล้วนแล้วแต่เพิ่มความว่องไวและประสิทธิภาพในการจัดการ ซึ่งส่งเสริมการผลิตด้วยกันแทบทั้งสิ้น 
  5. เทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการลูกค้ารูปแบบต่างๆ การเก็บข้อมูลของลูกค้าและนำมาประยุกต์ใช้เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ทั้งการนำเสนอโปรดักต์ใหม่ๆ และการจัดแคมเปญต่างๆ เทคโนโลยีอย่าง CRM E-mail ไปจนถึงการเก็บข้อมูลลูกค้าแบบตรงๆ ผ่านเว็บไซต์ ช่วยให้เราสามารถคาดเดาความต้องการ ปริมาณ รวมถึงคอมเมนต์ต่างๆ ได้ ทำให้การทำงานของเราง่ายขึ้นมาก และลงแรงน้อยลงไปเยอะ

การประยุกต์ใช้ Supply Chain ในอุตสาหกรรม

การประยุกต์ใช้ Supply Chain ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถทำได้โดยไม่มีแผนการ เพราะผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าและบริการของตัวเองก่อน จึงจะสามารถมองการจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมตนเองได้ เช่น 

  1. การจัดการจัดซื้อ จัดจ้าง และการผลิต ตรวจสอบว่าปัจจุบันมีการจัดซื้อจัดจ้างเพียงพอหรือไม่ คุ้มค่า มาก หรือน้อยเกินไปอย่างไร ถ้าเราไม่รู้และไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ ให้กลับไปดูว่า ‘เพราะอะไร’ เราถึงไม่มีข้อมูล ไม่มีการเก็บข้อมุลหรือเปล่า หรือขาดการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี หรือแค่ฝ่ายบริหารไม่ให้ได้ความสนใจด้านนี้แต่ต้น
  2. ความยืดหยุ่นในองค์กร หากเกิดปัญหาขึ้นมา องค์กรของเรามีความยืดหยุ่นและความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างไร เช่น ถ้าหากลูกค้ารายหนึ่งแคนเซิลสินค้า จะมีวิธีใดบ้างที่สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
  3. การจัดการข้อมูล ข้อมูลคือพระเจ้า และยังเป็นพระเจ้าสำหรับเรื่องนี้ การจัดการ Supply Chain ในองก์กรปัจจุบันจะก้าวต่อไปไม่ได้เลยหากเราไม่ได้มีการรวมศูนย์หรือจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เราจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่รองรับข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยให้การตัดสินใจของทุกฝ่ายเป็นไปได้รวดเร็ว ว่องไวมากขึ้น
  4. การสร้างฐานลูกค้า CRM (Custormer Relationship Management)เป็นตัวอย่างที่ดี การจัดการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบการแต่ละรายไม่ได้เป็นการจัดการเกี่ยวกับบุคคลที่จะซื้อของเพียงอย่างเดียว แต่ต้องบริหารจัดการไปพร้อมๆ กับการนำเสนอสิ่งที่เรามี ยิ่งเราผสาน CRM ของตัวเองเข้ากับข้อมูลของสิ่งที่มีได้เท่าไหร่ การนำเสนอสิ่งต่างๆ ให้ลูกค้า และการเก็บข้อมูลความชอบของลูกค้าก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น

สรุป

Supply Chain แท้จริงแล้วไม่ใช่วิธีการแต่เป็นองค์ความรู้ที่ฝ่ายบริหารองค์กรควรนำมาประยุกต์ใช้เสียมากกว่า ซึ่งการใช้งาน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพเองก็มีวิธีการที่หลากหลาย แต่ต้องมองให้ออกว่าองค์กรของเราต้องการอะไร ลูกค้าของเราต้องการอะไร และเราจะทำอะไรที่จะ serve ลูกค้าเหล่านั้นให้ได้พอดี ไม่มีติดขัด ซึ่งอีกหนึ่งทางเลือกคือการใช้ ERP เพราะระบบ ERP สามารถช่วยคุณบริหารจัดการทรัพยากรในส่วนนี้ได้อย่างลงตัว

แม้ว่าองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ของ Supply Chain จะแทบไม่มีความเปลี่ยนแปลง จากความยืดหยุ่นในตัวมันเอง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน Supply Chain ต่างๆ ให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 มากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นต้องมีการศึกษาหาความรู้ในสายงานตนเองอยู่เรื่อยๆ เพื่อที่จะให้เราก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป 

บริการ ERP Crafter - 1stCraft Digital Solutions