Supply Chain คืออะไร สำคัญขนาดไหน ขอบอกเลยว่ามันเปรียบเสมือนตัวชี้เป็นชี้ตายสำหรับธุรกิจต่างๆ เลยก็ว่าได้ น่าเสียดายที่ผู้ประกอบการหลายรายแม้ว่าจะรู้จักมันแต่กลับไมไ่ด้ให้ความใส่ใจกับ Supply Chain เท่าที่ควร ดังนั้นวันนี้เราจะมาแถลงไขเกี่ยวกับเรื่องของ Supply Chain ว่ามันคืออะไร และการประยุกต์ใช้ Supply Chain จะสามารถทำรูปแบบไหนได้บ้าง
ทำความเข้าใจ Supply Chain แบบง่ายๆ
Supply Chain หรือในชื่อไทยคือห่วงโซ่อุปทาน คือกระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าใดสินค้าหนึ่งขึ้นมา หรือบริการใดบริการหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการ (Demand) ของเหล่าลูกค้าต่างๆ โดยกระบวนการดังกล่าวจะมีรูปแบบและการจัดการแยกย่อยออกไป แล้วแต่ว่าเรากำลังผลิต Supply ใดขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้ซื้อ
การจัดการ Supply Chain มีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตามมักจะมีการเอ่ยถึง 5 ส่วนหลักๆ ซึ่งก็คือ
- Suppliers: ผู้สนับสนุนด้านวัตถุดิบ
- Manufacturers: ผู้ผลิต
- Wholesalers: ผู้กระจายสินค้า
- Retailers: ผู้ค้าปลีก
- Customer: ผู้บริโภค
ดังที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีการแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก แต่ในเชิงการทำงานแล้ว ในการทำงานจริงก็จะมีการแบ่งแยกย่อยออกไป ตามแต่การจัดการของผู้ประกอบการ เช่น กระบวนการของซัพพลายเออร์ก็จะมีทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง และการจัดหาผู้ขาย การนำเข้าวัตถุดิบเองก็จะแยกย่อยออกไปเป็นการเก็บรักษา การซื้อเพื่อใช้ในทันที รวมไปถึงการกระจายสินค้าเองก็ต้องผ่านการวางแผนการผลิตเช่นกัน
ชัดเจนว่าหากเราแบ่งกันตามจริง Supply Chain จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากสูง ทำให้เกิดการทำงานของ Supply Chain Management (SCM) ขึ้น ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายรายย่อย รวมไปถึงลูกค้าไว้ในที่เดียว ให้สามารถบริหารจัดการคลังสินค้า ลูกค้า หรือการบริหารจัดการภายในองค์กร สามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
Supply Chain ในปัจจุบัน
องค์ความรู้เกี่ยวกับ Supply Chain มีมาช้านาน แต่ด้วยการปรับเปลี่ยนของธุรกิจต่างๆ ทำให้เหล่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งที่ๆ เดิมทีจะมีเพียงพ่อค้าแม่ค้าเท่านั้นที่คิดคำนวนเรื่องนี้แบบจริงจัง
Supply Chain ในปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ประยุกต์ใช้และเทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงการจัดการ Supply Chain ได้ ทั้งความรู้และอุปกรณ์ นั่นทำให้เกิดการพัฒนาเกี่ยวกับ Supply Chain ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Supply Chain
ขึ้นชื่อว่าเทคโนโลยีย่อมมีส่วนร่วมกับชีวิตเราไม่มากก็น้อย และนี่คือเทคโนโลยีที่คุณรู้จักแต่อาจไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับ Supply Chain โดยตรง ซึ่งครอบคลุมทั้ง 5 ประเด็นที่กล่าวมา Suppliers, Manufacturers Wholesalers, Retailers หรือ Customer
- เทคโนโลยีด้านการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นรถขนส่งรูปแบบใหม่ การเข้ามาของเครื่องบินขนส่งสินค้า ทุกอย่างล้วนทำให้การสั่งสินค้าจากในและต่างประเทศเป็นไปได้ง่ายขึ้น หากเราสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้ดี เราอาจไม่จำเป็นต้องขยับออกจากบ้านเพื่อสั่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศ หรือส่งออกไปต่างประเทศด้วยซ้ำไป อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สินค้าบางประเภทที่เน่าเสียง่าย สามารถออกขายที่อื่นมากขึ้นในเวลาอันสั้นด้วย
- แพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนโลกของการสื่อสารไปโดยปริยาย และได้เปลี่ยนเกี่ยวกับการค้าขายด้วย การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ทำให้เราต้องจัดการ Supply Chain ให้ดียิ่งขึ้น ไวยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นการสต๊อกของเผื่อแบบสมัยก่อน เราจำเป็นต้องมีการจัดการเป็นเดือน ไตรมาส หรือบางทีก็วันต่อวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด
- เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลสมัยใหม่ Big Data และ Cloud Storage มีบทบาทมากในส่วนนี้ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าที่กำลังผลิต รวมถึงการจัดซื้อวัสดุที่ทำให้เราสามารถทำได้ รวดเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก
- เทคโนโลยีภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ Automation หรือเทคโนโลยีการจัดการและการตรวจสอบในโรงงาน ก็ล้วนแล้วแต่เพิ่มความว่องไวและประสิทธิภาพในการจัดการ ซึ่งส่งเสริมการผลิตด้วยกันแทบทั้งสิ้น
- เทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการลูกค้ารูปแบบต่างๆ การเก็บข้อมูลของลูกค้าและนำมาประยุกต์ใช้เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ทั้งการนำเสนอโปรดักต์ใหม่ๆ และการจัดแคมเปญต่างๆ เทคโนโลยีอย่าง CRM E-mail ไปจนถึงการเก็บข้อมูลลูกค้าแบบตรงๆ ผ่านเว็บไซต์ ช่วยให้เราสามารถคาดเดาความต้องการ ปริมาณ รวมถึงคอมเมนต์ต่างๆ ได้ ทำให้การทำงานของเราง่ายขึ้นมาก และลงแรงน้อยลงไปเยอะ
การประยุกต์ใช้ Supply Chain ในอุตสาหกรรม
การประยุกต์ใช้ Supply Chain ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถทำได้โดยไม่มีแผนการ เพราะผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าและบริการของตัวเองก่อน จึงจะสามารถมองการจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมตนเองได้ เช่น
- การจัดการจัดซื้อ จัดจ้าง และการผลิต ตรวจสอบว่าปัจจุบันมีการจัดซื้อจัดจ้างเพียงพอหรือไม่ คุ้มค่า มาก หรือน้อยเกินไปอย่างไร ถ้าเราไม่รู้และไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ ให้กลับไปดูว่า ‘เพราะอะไร’ เราถึงไม่มีข้อมูล ไม่มีการเก็บข้อมุลหรือเปล่า หรือขาดการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี หรือแค่ฝ่ายบริหารไม่ให้ได้ความสนใจด้านนี้แต่ต้น
- ความยืดหยุ่นในองค์กร หากเกิดปัญหาขึ้นมา องค์กรของเรามีความยืดหยุ่นและความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างไร เช่น ถ้าหากลูกค้ารายหนึ่งแคนเซิลสินค้า จะมีวิธีใดบ้างที่สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
- การจัดการข้อมูล ข้อมูลคือพระเจ้า และยังเป็นพระเจ้าสำหรับเรื่องนี้ การจัดการ Supply Chain ในองก์กรปัจจุบันจะก้าวต่อไปไม่ได้เลยหากเราไม่ได้มีการรวมศูนย์หรือจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เราจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่รองรับข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยให้การตัดสินใจของทุกฝ่ายเป็นไปได้รวดเร็ว ว่องไวมากขึ้น
- การสร้างฐานลูกค้า CRM (Custormer Relationship Management)เป็นตัวอย่างที่ดี การจัดการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบการแต่ละรายไม่ได้เป็นการจัดการเกี่ยวกับบุคคลที่จะซื้อของเพียงอย่างเดียว แต่ต้องบริหารจัดการไปพร้อมๆ กับการนำเสนอสิ่งที่เรามี ยิ่งเราผสาน CRM ของตัวเองเข้ากับข้อมูลของสิ่งที่มีได้เท่าไหร่ การนำเสนอสิ่งต่างๆ ให้ลูกค้า และการเก็บข้อมูลความชอบของลูกค้าก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
สรุป
Supply Chain แท้จริงแล้วไม่ใช่วิธีการแต่เป็นองค์ความรู้ที่ฝ่ายบริหารองค์กรควรนำมาประยุกต์ใช้เสียมากกว่า ซึ่งการใช้งาน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพเองก็มีวิธีการที่หลากหลาย แต่ต้องมองให้ออกว่าองค์กรของเราต้องการอะไร ลูกค้าของเราต้องการอะไร และเราจะทำอะไรที่จะ serve ลูกค้าเหล่านั้นให้ได้พอดี ไม่มีติดขัด ซึ่งอีกหนึ่งทางเลือกคือการใช้ ERP เพราะระบบ ERP สามารถช่วยคุณบริหารจัดการทรัพยากรในส่วนนี้ได้อย่างลงตัว
แม้ว่าองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ของ Supply Chain จะแทบไม่มีความเปลี่ยนแปลง จากความยืดหยุ่นในตัวมันเอง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน Supply Chain ต่างๆ ให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 มากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นต้องมีการศึกษาหาความรู้ในสายงานตนเองอยู่เรื่อยๆ เพื่อที่จะให้เราก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป