Smart Factory เป็นอีกหนึ่งคำยอดฮิตที่เกิดขึ้นมาภายในช่วงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเข้าสู่โลกดิจิทัหรือเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0
ทว่าสำหรับประเทศไทยเรื่องนี้อาจเป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมไทยที่พัฒนาเป็น Smart Factory ไปก่อนแล้วมักมีแต่โรงงานใหญ่ ในบทความนี้จึงจะพาคุณลงลึกไปในความ Smart ของโรงงานว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และเราสามารถเริ่มต้นทำมันได้อย่างไร หากต้องการการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
ทำความรู้จัก Smart Factory ก้าวสำคัญของโรงงานยุคปัจจุบัน
Smart Factory หรือในชื่อไทยคือโรงงานอัจฉริยะ คือการนำเทคโนโลยี Automation ผสานเข้ากับ IoT และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและปรับใช้เข้ากับระบบโรงงาน เพื่อผลักดันขีดความสามารถของโรงงานเหล่านั้นให้สูงขึ้น
สิ่งที่อยู่ใน Smart Factory ไม่ใช่เทคโนโลยีประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว ทำให้นิยามของ “โรงงานอัจฉริยะ” นี้ ดูชวนสับสนสำหรับใครหลายคนที่สงสัยว่าอะไรคือแกนหลักในการทำงานกันแน่ โดยเฉพาะการหยิบยกเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้นมาอ้างอิง บ้างก็ว่า AI เป็นหลักของ Smart Factory บ้างก็ว่า Internet of Thing (IoT) ที่เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าสู่อินเทอร์เน็ต หลายคนก็บอกว่าระบบจัดการข้อมูลด้วย Cloud ต่างหากที่สำคัญที่สุด
ถ้าจะถามว่าข้อใดถูก คงต้องบอกว่าที่เกริ่นมานั้นสำคัญหมด เนื่องจากเนื้อแท้ของการใช้ Smart Factory จริงๆ คือการทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดังกล่าว “ทำงานร่วมกัน” มากกว่าการเน้นหนักไปในด้านใดด้านหนึ่ง
เทคโนโลยีที่สูง มาพร้อมกับการแข่งขันที่มากขึ้น
การประยุกต์ใช้ Smart Factory ในประเทศไทยนั้นกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด เราสามารถเห็นตัวเลขสิ่งที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบ Automation และ IoT ซึ่งมีอัตราการสั่งซื้อจากต่างประเทศสูงขึ้น ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องบิน จะเล็ก หรือจะใหญ่ ล้วนก้าวไปในทิศทางเดียวกันคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติแทบทั้งสิ้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? สาเหตุเพราะหากเทียบกันในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบ Smart Factoy นั้นมีความคุ้มค่ามากกว่า ประหยัดเงินกว่า รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากกว่า
ความจริงที่น่าตกใจอีกเรื่องคือ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีสำหรับการทำ Smart Factory กลับเป็นโรคระบาดอย่าง Covid-19 ที่เข้ามาช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนผ่าน เนื่องจากในช่วงเวลานั้น “มนุษย์” ไม่สามารถทำงานได้ “ระบบอัตโนมัติ” และ “หุ่นยนต์” จึงเป็นทางเลือก
แล้วมีอะไรบ้างที่แฝงอยู่ในคำว่า Smart Factoty ลองมาดูกัน
องค์ประกอบและการทำงานของ Smart Factory
หากพูดถึงโรงงานในรูปแบบเดิมๆ หลายคนอาจนึกถึงภาพของเจ้าของโรงงานคนหนึ่ง เป็นคนวางแผนสั่งการโรงงานทั้งหมด แน่นอนว่ามันอาจจะผ่านชั้นของหัวหน้างาน แต่ Smart Factory จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้โดยสิ้นเชิง
องค์ประกอบของ Smart Factory จะมีด้วยกันหลักๆ 4 อย่าง คือ
- Prediction การคาดการณ์
- Planning & Scheduling การวางแผนและการกำหนดการทำงาน
- Analytic การวิเคราะห์คิดคำนวณ
- Execution การปฏิบัติงาน
สิ่งที่ทำให้ Smart Factory แตกต่างก็คือ องค์ประกอบทั้งหมดจะถูกใช้ร่วมกับเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ซึ่งคือ IoT หรือ Internet of Thing
สาเหตุที่ Internet of Thing เปรียบเสมือนพื้นฐานที่สุด เพราะมันเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมทุกสิ่งทุกอย่างในโรงงานเข้าสู่ใจกลาง ทำให้ไม่ว่าจะผู้บริหาร ผู้จัดการ ไปจนถึงพนักงาน สามารถรับรู้สิ่งที่เครื่องจักรต่างๆ ทำได้ทันที รวมถึงเห็น Flow หรือการทำงานทั้งหมด ว่ามีความลื่นไหลขนาดไหน ติดขัดตรงไหนหรือเปล่า
แน่นอนว่าอีกระบบที่ขาดไม่ได้เลยคือการใช้หุ่นยนต์ร่วมกับระบบอัตโนมัติ หรือระบบ Automation ที่ทำงานทั้งหมดได้ด้วยการสั่งการเพียงครั้งเดียว ทำให้แม้ว่าผู้ควบคุมจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ก็ยังสามารถทำให้เหล่าหุ่นยนต์เดินเครื่องได้
ไม่ใช่แค่เครื่องจักร แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในโรงงาน ตั้งแต่ระบบควบคุมความปลอดภัยจนถึงระบบไฟฟ้า เราสามารถเชื่อมต่อมันได้ผ่านเทคโนโลยี IoT
สรุปรวมการทำงานแบบ Smart Factory
การทำงานของ Smart Factory ในแต่ละโรงงานจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งสามารถสรุปรวมระบบการทำงานได้คร่าวๆ คือ
- มีการคาดการณ์ ประมาณการผลิตล่วงหน้าจาก โดยการประเมินจากข้อมูลที่มีรวมถึงออเดอร์จากลูกค้า ซึ่งคำสั่งซื้อทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในระบบเพื่อนำมาประเมินในภายหลัง โดยข้อมูลจะอ้างอิงจากซอฟท์แวร์การจัดการหรือระบบประเภท MRP หรือ ERP เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และความรวดเร็วในการจัดการ
- วางแผนการผลิต โดยอ้างอิงจากข้อมูลข้างต้น ว่าเราจะต้องวางแผนการผลิตทั้งหมดเท่าไหร่ถึงจะพอดีกับความต้องการของลูกค้า
- วิเคราะห์การจัดการผลิต ว่าจากการวางแผนการผลิตนั้น จะผลิตอย่างไรด้วยเครื่องจักรประมาณไหน กำลังคนเท่าไหร่จึงจะคุ้มค่ามากที่สุด
- ดำเนินการผลิต ด้วยอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งระบบ IoT ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถติดตามข้อมูลการผลิตทุกอย่างได้ และดำเนินการผลิตด้วยระบบ Automation ที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องลงไปทำงานด้วยตัวเอง เป็นแค่เพียงผู้สั่งการและผู้ตรวจสอบงานเท่านั้น
การเริ่มต้น Smart Factory อย่างเป็นระบบ
การเริ่มต้น Smart Factory ไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันก็มีความซับซ้อนหลากหลายในตัวเองเช่นกัน โดยเราได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเทคนิคการเริ่มต้นการทำงานด้วย Smart Factory ไว้ ดังต่อไปนี้
1. ตั้งคำถามกับโรงงานของตัวเอง
ทำไมเราถึงเลือกที่จะอัปเกรดโรงงานของตัวเองเข้าสู่ระบบ Smart Factory ? ในตลาดที่เกี่ยวข้องกับตัวเองมีความจำเป็นมากขนาดไหน เราต้องการปรับเปลี่ยนโรงงานไปในรูปแบบใด ส่วนเดียวหรือทั้งหมด
2. สำรวจสิ่งที่เกี่ยวข้องในโรงงาน
ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากร พื้นที่ แผนการผลิตทั้งระยะสั้นและระยะยาวรวมถึงเครื่องจักรที่สามารถใช้งานได้ในปัจจุบันและต้องสั่งซื้อเพิ่ม การมองทั้งหมดออกในภาพรวม เพื่อที่จะได้วางแผนการลงทุน การทำงาน ผลลัพธ์ที่ต้องการ รวมถึงแผนการจัดการอื่นๆ ได้ในระยะยาว
3. วางแผนการลงทุน Smart Factory
สืบค้นข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Smart Factory และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สอบถามราคาในการติดตั้ง เทรนนิ่ง รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการปรับเปลี่ยนงาน เพื่อการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ตามความเหมาะ
สมในโรงงานของคุณ รวมไปถึงเลือกบริษัทที่เชื่อถือได้ มีเครดิตในการทำงานเกี่ยวกับ Smart Factory
4. ฝึกอบรมและทำความเข้าใจกับพนักงาน
เรื่องของบุคลากรเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเราจะผลักดันโรงงานให้เป็น Smart Factory โดยเฉพาะการทำงานในโรงงานแบบเดิมๆ ที่หลายคนคุ้นชิน
อาจได้รับเหตุผลว่า “จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทำไม ?” ทางผู้บริหารควรมีการทำความเข้าใจพนักงาน และฝึกอบรบความรู้ เพื่อทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ทันทีเมื่อมีการติดตั้งระบบที่เกี่ยวกับ Smart Factory เรียบร้อยแล้ว
5. ทดสอบระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องก่อนติดตั้งจริง
ในการทำงานของ Smart Factory ควรมีการทดสอบระบบทั้งหมดในพื้นที่เฉพาะ โดยอ้างอิงจากโรงงานจริงเสียก่อน เพื่อทำให้เราทราบได้ว่าการทำงานทั้งหมดเป็นอย่างไร มีจุดไหนที่ต้องแก้ไขบ้าง เพื่อให้การทำงานหน้างานจริงสามารถทำงานได้ไม่มีติดขัด
6. ติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
โดยอ้างอิงจากการวางแผนด้านบน โดยมีการคำนวณเวลาติดตั้ง การทำงานขั้นตอนต่างๆ รวมไปถึงการทดสอบระบบเบื้องต้นในการทำงานก่อนที่จะมีการดำเนินงานทดสอบขั้นสุดท้ายทั้งหมดหลังจากการเตรียมงานเสร็จ
7. ตรวจสอบระบบหลังการติดตั้ง
ตรวจสอบการติดตั้งและการทำงานอีกครั้งทั้งโรงงาน เพื่อเป็นหลักฐานว่าโรงงานทั้งหมดสามารถทำงานได้อย่างเป็นประสิทธิภาพ
8. ดำเนินการทำงานและติดตามผล
ในส่วนของการดำเนินการทำงานนั้นเป็นส่วนของพนักงาน แต่ผู้บริหารเองก็ต้องมีการติดต่อสอบถามและติดตามผลการทำงานของระบบภายใน Smart Factory ของตัวเอง
การเริ่มต้นทำงานเกี่ยวกับ Smart Factory และระบบโรงงานที่เกี่ยวข้องยังมีประเด็นหลายๆ อย่างที่ยิบย่อยลงไปอีกมาก ทางที่ดีผู้ที่สนใจควรศึกษาหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มความเข้าใจของตัวเอง ก่อนดำเนินการติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์
สรุปท้ายบทความ
การทำงานที่ดีที่สุดคือการทำงานที่เหมาะสมที่สุด ระบบ Automationและ Smart Factory เองก็เช่นกัน ทุกโรงงานที่สนใจการทำงานของระบบนี้ควรเข้าไปศึกษาในสถานที่จริง ระบบจริง เพื่อเปรียบเทียบและประเมินการทำงานทั้งหมดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่
หากยังไม่พร้อมหรือไม่แน่ใจ นอกจากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้วเราขอแนะนำให้เริ่มต้นในการลงทุนขั้นเล็กๆ ก่อน เช่นระบบเก็บข้อมูลในโรงงานหรือระบบประเภท Enterprise Resource Planning (ERP) ที่เป็นตัวช่วยทำให้คุณเห็นภาพรวมการทำงานต่างๆ ของโรงงานมากขึ้น และทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้วจะสามารถทำงานร่วมกับโรงงานของเราได้ดีมากน้อยขนาดไหน
มองหา Solution โรงงานต้องเรา 1stCraft ด้วยประสบการณ์การปรับเปลี่ยนโรงงานในประเทศไทยให้เป็น SMART Factory ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครบถ้วน หากสนใจปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ 🙂