การพาเว็บไซต์ขึ้นสู่หน้าแรกและติดอันดับ SEO เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่หลายเว็บไซต์ต้องการ จึงทำให้เจ้าของเว็บไซต์ต่างพากันหาเทคนิคที่ช่วยพัฒนาให้เว็บไซต์ได้ครองใจ Google และผู้ใช้งานได้บ้าง
ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยดันให้เว็บไซต์สามารถติดอันดับการค้นหาที่ดี นั่นคือ Site Structue หรือการวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย
สำหรับใครที่อยากพัฒนาเว็บไซต์ให้ขึ้นหน้าแรกของการค้นหา บทความนี้มาทำความรู้จักกับ Site Structue พร้อมวิธีการวางโครงสร้างที่ดีให้กับเว็บไซต์ในฉบับที่เข้าใจง่าย นำไปปรับใช้ได้เลยทันที
Site Structure คืออะไร? ธุรกิจที่มีเว็บไซต์ต้องรู้
Site Structure คือ การวางแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้อัลกอลิทึมของ Google รู้ว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์เป็นเรื่องอะไร มีการจัดระเบียบข้อมูลบนเว็บไซต์ในแต่ละหน้าอย่างไร และแต่ละหน้าเชื่อมโยงกันผ่านลิงก์ (Link) ได้ยังไงบ้าง
ซึ่งการวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดีจะช่วยให้ Bot ของ Google สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาและโครงสร้างของเว็บไซต์ได้ง่าย เพื่อให้นำไปจัดอันดับตามหมวดหมู่เนื้อหาของเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด
นอกจากนี้ยังดีต่อผู้ใช้งานที่เข้ามาชมเว็บไซต์ ที่สามารถคลิกลิงก์เพื่อไปยังหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ได้ง่าย ช่วยสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีและเลือกที่จะใช้เวลาบนเว็บให้นานขึ้น สร้างโอกาสให้ทำความ
รู้จักกับธุรกิจ หรืออาจตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการได้เร็วขึ้นด้วย
ทำไมเว็บไซต์ต้องทำ Site Structure ให้ดี
การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) ที่ดี จะเป็นการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเรา ซึ่งถ้ายังไม่มองถึงการวางโครงสร้างเว็บไซต์เพื่อให้ Bot ของ Google นำไปจัดอันดับ ความสำคัญของการวางโครงสร้างเว็บไซต์ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่
เพราะเมื่อผู้ใช้งานเข้ามาชมเว็บไซต์ของธุรกิจคุณแล้ว พวกเขาจะสามารถค้นหาหรือคลิกเข้าไปยังเมนูต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก จะเข้าไปอ่านข้อมูลในเว็บเพจหน้าไหนก็ทำได้ง่ายดาย
ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ เว็บไซต์ของธุรกิจก็เหมือน “ร้านค้าแห่งหนึ่ง” และผู้ใช้งานก็คือ “ลูกค้า” ที่เดินเข้ามาเลือกซื้อของ หากในร้านไม่มีป้ายบอกทาง หรือป้ายข้อมูลที่ช่วยให้หาสินค้าเจอเลย พวกเขาจะเดินหลงทางภายในร้านและหาของที่ต้องการไม่เจอ สุดท้ายแล้วจะเดินออกจากร้านค้าของคุณ เพราะมีประสบการณ์ในการเข้ามาใช้บริการที่ไม่ดี โอกาสที่พวกเขาจะกลับเข้ามาอีกก็มีน้อย เผลอๆ ยังไปเล่าให้เพื่อนต่ออีก จนสุดท้ายแล้วร้านค้าก็ไม่มีคนเข้ามา
สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ก็เช่นกัน ถ้าหากมีการวางโครงสร้างที่ดี ก็จะสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการให้กับธุรกิจได้อีกด้วย
Site Structure สำคัญกับเว็บไซต์อย่างไรบ้าง
การทำ Site Structure เป็นการจัดแผนผังเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดีต่อเว็บไซต์ได้ นั่นคือ
1. ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience)
การให้คะแนนของ Google เพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ จะมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ User Experience หรือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน
โดยการวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย รู้สึกสะดวกสบาย และรู้สึกดีต่อเว็บไซต์ ทำให้กลับเข้ามาใช้งานได้เรื่อยๆ ซึ่งการย้อนกลับเข้ามาชมบ่อยๆ นี้เอง จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน จึงช่วยให้เว็บไซต์ได้รับการจัดอันดับที่ดี
2. การทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับได้เร็ว
การวางโครงสร้างเว็บไซต์ จะช่วยบอกกับ Bot ที่เข้ามาเก็บข้อมูลว่าแต่ละหน้ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรและเชื่อมโยงถึงกันยังไงบ้าง ซึ่งจะช่วยให้อัลกอลิทึมสามารถทำความเข้าใจเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด และมีการนำไปเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน ช่วยให้โอกาสที่ข้อมูลของเว็บจะถูกจัดอันดับในการเรียกแสดงผลที่ดีขึ้น และรวดเร็วยิ่งขึ้น
วางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) ยังไงดี
สิ่งสำคัญในการวางโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Site Structure ต้องคำนึงถึงความเรียบง่ายเป็นหลัก มีขั้นตอนที่น้อยที่สุดเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว และให้อัลกิลิทึมสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ครบถ้วน
โดยวิธีการวางโครงสร้างที่ดี มีดังนี้
1. เลือกรูปแบบของโครงสร้างเว็บไซต์
เริ่มต้นด้วยการเลือกรูปแบบของโครงสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถวางแผนผังของเว็บได้เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีบนเว็บไซต์ โดยรูปแบบการวาง Site Structure ที่นิยมมากที่สุดและเหมาะกับเว็บที่ต้องการทำ SEO มากที่สุดนั่นคือ Hierarchical หรือโครงสร้างแบบต้นไม้
Hierarchical เป็นการวางผังโครงสร้างเว็บไซต์ที่สามารถปรับใช้ได้กับเว็บไซต์ทุกขนาด มีการจัดเรียงหมวดหมู่เป็นลำดับชั้น มีการวางให้เข้าไปที่หน้าหัวข้อหลัก ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปถึงหน้าที่เป็นหัวข้อที่เฉพาะเจาะจงไปเรื่อยๆ คล้ายกับการแตกกิ่งก้านของต้นไม้
ลักษณะการวางแผนผังนี้ จึงเป็นการวางโครงสร้างที่สมเหตุสมผล โดยมีจุดเด่นคือ
- ใช้งานง่าย สามารถจัดการเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างเป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ
- สามารถเพิ่มหน้าใหม่ หรือหมวดหมู่ใหม่ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ โดยไม่กระทบกับโครงสร้างโดยรวม
- เป็นการวางเส้นทางของเว็บไซต์ที่ชัดเจน ช่วยให้อัลกอลิทึมที่เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถทำความเข้าใจและจัดเก็บข้อมูลได้ละเอียดครบถ้วน
2. วางโครงสร้างหน้า Homepage
หน้าแรก หรือหน้า Homepage ถือเป็นศูนย์กลางที่จะนำทางผู้ใช้งานและอัลกอลิทึมให้ไปยังหน้าต่างๆ ต่อไปได้ ซึ่งจะต้องตรวจสอบหน้านี้อย่างละเอียด ว่าหน้านี้สามารถลิงก์ไปยังหน้าหัวข้อสำคัญต่างๆ บนเว็บไซต์ได้หรือไม่
3. สร้างการนำทาง (Navigation) หรือเมนูที่เข้าใจง่าย
เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาถึงยังหน้า Homepage หรือหน้าเว็บเพจอื่นๆ แล้ว จะต้องวางแผนต่อว่า พวกเขาสามารถคลิกเพื่อค้นหาสิ่งที่กำลังต้องการได้ง่ายหรือไม่ ด้วยการสร้างการนำทางหรือเมนู (Menu) ที่สามารถพาผู้ใช้งานให้เข้าชมเนื้อหาต่างๆ ในเว็บไซต์ได้สะดวก
โดยสิ่งที่ต้องทำคือใช้วลีสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย หรือใช้คำๆ เดียว ที่อ่านแล้วเข้าใจเลย เช่น หน้าแรก สินค้าทั้งหมด ติดต่อเรา เกี่ยวกับเรา เป็นต้น
4. จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา
สร้างหมวดหมู่ย่อยในเมนู เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามหมวดหมู่ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสินค้ากีฬา มีการสร้างหมวดหมู่แบ่งออกเป็น “ผู้ชาย” “ผู้หญิง” “เด็ก”
เพื่อให้ผู้ใช้งานคลิกแล้วพบกับหมวดหมู่ย่อยต่อไป เช่น คลิกที่เมนู “ผู้ชาย” จะมีหมวดหมู่ย่อยให้เลือกชมสินค้าต่อ โดยอาจเป็น “รองเท้า” “ชุดกีฬา” “ชุดลำลอง” เป็นต้น
เทคนิคเพิ่มเติมในการวางโครงสร้างเว็บไซต์ (ให้แต่ละหน้าเว็บเพจ)
นอกจากการวางโครงสร้างให้กับหน้า Homepage แล้ว ในหน้าเว็บเพจย่อยภายในเว็บไซต์ ก็ยังสามารถใส่เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยให้เนื้อหาสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์ได้ และทำให้ผู้ใช้งานได้ใช้เวลามากขึ้นบนเว็บไซต์ (เวลาที่ผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ยิ่งนาน ยิ่งดีต่อการทำ SEO)
1. เพิ่ม Tags และสร้างหมวดหมู่
วิธีการจะคล้ายกับการออกแบบเมนูนำทางให้กับผู้ใช้งาน แต่การเพิ่ม Tags จะมีลักษณะเป็นลิงก์ ที่เมื่อกดแล้วเว็บไซต์จะแสดงข้อมูลหรือเนื้อหาในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกัน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นข้อมูลที่กำลังสนใจได้เร็วยิ่งขึ้น
2. แทรกลิงก์ไปตามบริบทของเนื้อหา (Contectual Links)
เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยหากเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ โดยการแทรกลิงก์ไปตามบริบทของเนื้อหา จะเป็นการแทรกเข้าไปในจุดต่างๆ เช่น ในเนื้อหาของบทความ ปุ่ม กล่องข้อความ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่อยู่ในหน้าเว็บเพจนั้น
ตัวอย่างเช่น เนื้อหาของบทความที่เกี่ยวกับการเลือกรองเท้ากีฬา เมื่ออ่านไปสักระยะหนึ่ง อาจมีการแทรกเป็นลิงก์ที่เขียนว่า “รองเท้าวิ่งเทรล” ที่เมื่อคลิกแล้วจะพาไปยังหน้าบทความที่เกี่ยวกับการวิ่งเทรล
ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์มีลิงก์ที่เชื่อมโยงกันไปได้เรื่อยๆ แต่ก็ต้องระวังในการแทรกลิงก์ให้ดี ถ้าหากแทรกแล้วพาไปยังหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทขอเนื้อหาก่อนหน้า อาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดการสับสนได้ง่าย
ให้ 1stCraft ช่วยวาง Site Structure ให้เว็บไซต์ของคุณ
สำหรับเว็บไซต์ที่ยังไม่เคยวางแผนการทำ Site Structure แบบจริงจัง และต้องการวางโครงสร้างของเว็บไซต์ใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีที่สุด และเพิ่มโอกาสการพาเว็บไซต์ธุรกิจขึ้นสู่หน้าแรกของการค้นหา
ที่ 1stCraft เรามีบริการ ออกแบบเว็บไซต์ ที่ช่วยมอบทั้งความสวยงาม และวางโครงสร้างของเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายกับทั้งผู้ใช้งาน เป็นมิตรต่อการเก็บข้อมูลของอัลกอลิทึม ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย และพาเว็บไซต์ทะยานขึ้นสู่หน้าแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณต้องการปรึกษา สามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามและพูดคุยถึงโซลูชันเพิ่มเติมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่ครับ