การจัดการการผลิตที่ดีต้องมีระบบรองรับ โดยเฉพาะการจัดการภายในโรงงานที่จะขาดสิ่งที่เรียกว่าระบบโรงงานไปไม่ได้เลย บทความนี้จึงจะมาเจาะลึกว่าระบบโรงงานนี้แต่เดิมมีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาระบบโรงงานและส่งเสริมการผลิตให้สมกับยุคอุตสาหกรรม 4.0
ระบบโรงงาน เส้นเลือดใหญ่ของการผลิต
ระบบโรงงาน คือการวางแบบแผนในอุตสาหกรรมในการผลิต เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นระบบที่ถูกคิดค้นเข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมภายในครัวเรือน โดยเริ่มต้นจากการเข้ามาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ตั้งแต่เครื่องจักรพลังน้ำ ไอน้ำ ก่อนพัฒนามาเป็นไฟฟ้าเหมือนปัจจุบัน
การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ นี้เองที่คอยพลิกโฉมรูปแบบการทำงานของระบบโรงงานอยู่ตลอดเวลา ยิ่งยุคสมัยเปลี่ยนไปเท่าไหร่ รูปแบบการทำงาน ศักยภาพการผลิต รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพของระบบโรงงานก็ยิ่งช่วยให้เราสร้างสินค้าดีๆ ขึ้นมาได้มากขึ้นเท่านั้น
แต่แน่นอนว่าไม่ใช่การวางระบบทุกรูปแบบจะเวิร์กเสมอไป เพราะในการทำงานจริงแต่ละโรงงานจะมีการผลิตแบบเฉพาะเจาะจง การวางแผนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้เจ้าระบบนี้ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะกับโรงงานของคุณมากที่สุด
การทำงานของระบบโรงงาน
ทำไมเราจึงไม่ค่อยเห็นแผนผังการทำงานของระบบโรงงาน (Factory System) ?
นั่นอาจเป็นหนึ่งในข้อสงสัยเมื่อคุณทำการหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการวางระบบโรงงาน แต่ขอบอกเลยว่าไม่ต้องแปลกใจ เพราะการวางระบบ ไม่ว่าจะใช้คน เครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์ โรงงานนั้นๆ มักมีการวางระบบแบบเฉพาะตัว โดยเฉพาะโรงงานใหญ่ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบทั้งหมด ให้ทุกอย่างสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล
โดยส่วนประกอบของระบบโรงงานที่เรามักได้เห็นกันในโรงงานปัจจุบันส่วนใหญ่ได้แก่
- บุคลากร
- เครื่องจักร
- ระบบที่ทำงานเบื้องหลัง
แน่นอนว่าภาพการทำงานที่เกิดขึ้นคือการที่บุคลากรและเครื่องจักรนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการแปรรูป แล้วเปลี่ยนมาให้เป็นผลิตภัณฑ์ แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือระบบเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็น Cloud IoT หรือแม้แต่ระบบเชื่อมต่อข้อมูลเข้า Server ธรรมดาๆ
สิ่งสำคัญของระบบโรงงานจึงเป็นการ “วางแผน” ที่ดีพอที่จะครอบคลุมปัจจัยทั้งสามได้ และทำให้ทั้งสามทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ดังนั้นระบบ ERP จึงตอบโจทย์โรงงานไม่ว่าจะคุณจะเป็นโรงงานขนาดใหญ่หรือเล็ก ระบบ ERP ประกอบไปด้วยหลาย Module ภายในไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารคลังสินค้า ระบบ HR ระบบ Accouting ซึ่งคุณสามารถควบคุมภาพรวมของทั้งโรงงานผ่านระบบเดียว
ประโยชน์ของการใช้ระบบโรงงานที่ดี
การจัดการระบบโรงงานช่วยให้การผลิตดีขึ้น ลื่นไหลขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่เราเห็นภาพกันอยู่แล้วไม่ว่าจะที่ใดก็ตาม แต่ถ้าเรามีการประยุกต์ใช้ระบบ อัปเกรด และพัฒนาขึ้นล่ะ ระบบนี้จะทำอะไรได้อีก ?
สร้างมาตรฐานใหม่ให้โรงงาน ทำให้การสร้างมาตรฐานเชื่อมโยงข้อมูลในการผลิตได้มากขึ้น ส่งผลโดยตรงให้การบริหาร วางแผน หรือตัดสินใจในทางธุรกิจได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการดำเนินงานหรือศึกษา อีกทั้งนำข้อมูลส่วนนี้ไปเพิ่มคุณภาพหรือลดต้นทุนการผลิตเพิ่มเติมได้อีก
ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ระบบโรงงานที่มีการจัดสรรจะช่วยให้การควบคุมและวางแผนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์คือทำให้การบริหารจัดสรรวัตถุดิบ ทั้งการจัดซื้อและวางแผนใช้งานดีขึ้น ลดปัญหาสินค้าคงคลัง ช่วยจัดการคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
จัดการโรงงานง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารเข้าภาพรวมฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินกิจการ
นั่นเป็นเพียงส่วนเดียวถ้าเรามีการวางระบบโรงงานหรือ Factory System อย่างมีคุณภาพ แต่ถ้าหากคุณไม่เคยวางระบบมาก่อน ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ลองพิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้
เมื่อไหร่ที่คุณอาจต้องพิจารณาระบบโรงงานใหม่
มีหลายครั้งที่เราต้องพิจารณาโรงงานของตัวเอง ว่ามีอะไรขาด มีอะไรเกิน ระบบโรงงานก็ไม่เว้น โดยกรณีที่เราควรพิจารณาอัปเกรดระบบ หรือเปลี่ยนระบบโรงงานของเราได้แก่
- มีปัญหาด้านตารางงานและจัดลำดับความสำคัญในการผลิต
- มีปัญหาเรื่องปริมาณวัตถุดิบคงเหลือว่าอาจไม่เพียงพอต่อการใช้ผลิตสินค้า
- เกิดการคำนวณปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตพลาดจนทำให้ส่งมอบสินค้าไม่ทัน
- ขาดการคำนวณและควบคุมที่แม่นยำ จนทำให้ต้นทุนสูงกลายเป็นผลิตแล้วไม่คุ้มทุน
- ความสับสนด้านสต็อกที่อาจทำให้เกิดต้นทุนจมจากการเก็บวัตถุดิบที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้งาน (โปรแกรมสต็อกสินค้าช่วยคุณได้)
- ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้จนไม่สามารถดึงประสิทธิภาพการผลิตออกมาได้เต็มที่
- ไม่มีการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ที่ใช้งานจนอาจเสี่ยงทำให้เกิดความเสียหาย
- ขาดข้อมูลที่แม่นยำในการตัดสินใจสำหรับการดำเนินการเพื่อพัฒนา ทำให้การปรับปรุงและต่อยอดธุรกิจทำได้ยากขึ้น
หากเกิดปัญหาเหล่านี้แม้เพียงปัญหาเดียวหรือสองปัญหา คุณอาจต้องเริ่มพิจารณาแล้วว่าโรงงานของคุณยังมีระบบที่ดีอยู่หรือไม่ และต้องการการเปลี่ยนแปลงไหม หรือถ้าหากคุณไม่เคยวางระบบแบบเป็นชิ้นเป็นอันเลย อาจต้องพิจารณาวางแผนตั้งแต่ฐานราก ด้วยการวางระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ควบคู่ไปกับการทำระบบภายในโรงงาน
ERP กับการทำงานของ Factory System
ทำไมเราต้องกล่าวถึงระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) หรือแผนการจัดการทรัพยากร
เพราะหลายบริษัทไม่มีการจัดการข้อมูลที่ดีพอไม่ว่าจะเป็นภายในโรงงานและนอกเหนือจากโรงงาน การที่เราจัดการ “รวม” ข้อมูลให้อยู่ในศูนย์กลาง และมีการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบด้วยการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรแต่ต้น อาจเป็นสิ่งที่จำเป็นมากกว่าการวางระบบโรงงานเพียงอย่างเดียว
ซึ่งหากคุณมีการใช้ระบบ ERP ร่วมกับการทำงานในโรงงานแล้ว นอกจากที่มันจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการโรงงาน ERP ยังทำหน้าที่เป็นตัวประสานและเป็นศูนย์กลางข้อมูล ยิ่งเรามีระบบในภาพรวมดี Factory System ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบ ก็สามารถพัฒนาต่อไปได้ไม่ยาก และทำให้เราบริหารโรงงานได้ดีขึ้นอีกด้วย สนใจระบบ ERP สามารถปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
อุปสรรคในการวางระบบโรงงาน
ถึงจะทราบว่าการมีระบบโรงงานที่ดีมีคุณลักษณะแบบไหน การใช้งานERPมีประโยชน์และสร้างผลลัพธ์ที่ดีเพียงไร จำเป็นสำหรับธุรกิจในปัจจุบันแค่ไหน แต่บางครั้งการนำมาปรับใช้กับองค์กรก็ไม่ง่าย เนื่องด้วยหลากหลายปัจจัย เช่น
ฝ่ายบริหาร ที่อาจขาดความตระหนักและให้ความสำคัญต่อระบบโรงงานหรือระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ไม่ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของบริษัท แม้ว่าจะมีระบบที่ครอบคลุมแต่ไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร
ต้นทุนโดยรวม ที่อาจยังไม่พร้อมที่จะปรับปรุงโครงสร้างระบบโรงงานให้ดีขึ้น เนื่องด้วยการปรับปรุงโครงสร้างระบบโรงงาน หรือวางระบบในส่วนนี้ย่อมต้องมีการลงทุนเช่นกัน
ระบบองค์กร ที่ไม่ได้มีการสื่อสารกันดีเพียงพอ ขาดทำงานอย่างเป็นระบบจนไม่พร้อมสำหรับการนำระบบโรงงานที่ดีมาปรับใช้
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การขาดแคลนในส่วนนี้จะทำให้การส่งข้อมูลผ่านระบบ ทำงานผ่านเครือข่ายไม่ราบรื่น กลายเป็นตัวขัดขวางการทำงานของระบบโรงงานใหม่ให้ติดขัด
บุคลากร ทั้งระบบ ERP หรือ Factory System แบบธรรมดาต่างก็ต้องการคนที่พร้อมจะปรับตัวเพื่อใช้งาน หากขาดความพร้อมหรือไม่ได้ให้ความร่วมมือในส่วนนี้ ก็ยากที่จะทำให้ระบบทั้งหมดดำเนินการได้จนถึงเป้าหมาย
การเลือกใช้ระบบโรงงานที่ไม่เหมาะสม ในบางครั้งความรีบร้อนและข้อจำกัดอาจทำให้ระบบของโรงงานบางโรงงานไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ทำให้กลายเป็นอุปสรรคแทนที่จะเป็นข้อดี การเลือกระบบโรงงานที่ดีจึงควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อทำให้แน่ใจว่าเราได้ระบบที่คู่ควรกับโรงงานจริงๆ
สรุป
จากที่กล่าวไปข้างต้นน่าจะทำให้ผู้อ่านความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโรงงานขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในหลายต่อหลายครั้งผู้ประกอบการอาจไม่ได้ต้องการเพียงระบบโรงงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการระบบสนับสนุนอื่นๆ ด้วย เพื่อให้โรงงานของเราสามารถทำงานได้ดีที่สุด
เพื่อให้บริษัทเติบโตก้าวหน้าท่ามกลางกระแสกาลเวลาที่เปลี่ยนไป การพิจารณาระบบที่โรงงานต้องการจริงๆ ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ และ ERP อาจเป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยให้การบริหารโรงงานและบริษัทของคุณง่ายขึ้น ราบรื่นขึ้น และคุ้มต่อต้นทุนมากกว่า เพราะเป็นการดูแลโรงงานทั้งหมดโดยรวม เพื่อให้การทำงานทั้งหมดครอบคลุม ไม่มีสะดุด