Cover บทความ จ้างบริษัทรับวางระบบโรงพยาบาล

จ้างบริษัทรับวางระบบโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

mins read   1stCraft Team

โรงพยาบาลมีข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ต้องจัดการ ทั้งจากกิจกรรมขององค์กรเองหรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบัน โรงพยาบาลต่างๆ จึงพยายามหาวิธีและเครื่องมือเข้ามาจัดการบริหารโรงพยาบาล หรือก็คือ “การวางระบบโรงพยาบาล” ด้วยเทคโนโลยีผ่านผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ 

ในบทความนี้ จะพาคุณมาทำความเข้าใจการวางระบบโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น และเข้าใจวิธีการคิดราคา เพื่อตอบคำถามที่คุณสงสัยว่า จะจ้างบริษัทวางระบบโรงพยาบาล ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

ทำความเข้าใจการวางระบบโรงพยาบาล

ค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาลนั้น แน่นอนว่า จะอยู่ที่หลักแสนหรือหลักล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย โดยเราอยากพาคุณมาทำความเข้าใจการวางระบบในภาพรวม องค์ประกอบ รวมถึงที่มาของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นำมาคิด

ภาพรวมของการวางระบบโรงพยาบาล

การวางระบบโรงพยาบาล หมายถึง การวางระบบปฏิบัติงานและการจัดการกับทรัพยากรเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น สามารถจัดการกับข้อมูล งาน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายได้ โดยในปัจจุบัน จะวางระบบโรงพยาบาลในรูปแบบของเครื่องมือที่เข้ามาช่วยจัดการกิจกรรมต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

  1. HMS: Hospital Management System หรือระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล ประกอบได้ด้วยระบบย่อยๆ ที่ช่วยจัดการงานต่างๆ เช่น งานธุรการ การปฏิบัติการ (Operation) การมอบหมายงาน งานคลัง และระบบการเงิน ฯลฯ
  1. HIS: Hospital Information System หรือระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ที่เป็นระบบจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น เวชระเบียน ประวัติการรักษา ข้อมูลด้านสุขภาพ หรือระบบงานทำประวัติ ฯลฯ 

สำหรับขั้นตอนในการวางระบบโรงพยาบาลนั้น ภายหลังจากที่โรงพยาบาลตกลงกับผู้ให้บริการ (Vendor) แล้ว ทางผู้ให้บริการจะศึกษาวิธีการทำงาน การบริหารงาน และการจัดการกับข้อมูลขององค์กร เพื่อนำเสนอระบบที่เหมาะกับปัญหาขององค์กร 

จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการวางระบบซึ่งมีตั้งแต่ติดตั้งฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวระบบปฏิบัติการ และในขณะเดียวกันนั้น ทางผู้บริการจะทำหน้าที่อบรมเกี่ยวกับระบบและวิธีการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ระบบย่อยที่สำคัญในระบบโรงพยาบาล

ระบบโรงพยาบาล คือ ระบบบริหารจัดการหลักที่ประกอบไปด้วยระบบย่อยหรือ Module ที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่

  1. ERP: Enterprise Resource Planning หรือ ระบบบริการจัดการทรัพยากรที่ปรับให้เหมาะกับลักษณะการดำเนินงานของโรงพยาบาล เป็น HIS ที่ช่วยจัดการกิจกรรมต่างๆ ในงานบริหารทั้งคลังสินค้า ระบบบัญชี บริหารผู้ปฏิบัติงาน ระบบจัดซื้อจัดจ้าง และระบบอื่นๆ ที่ช่วยจัดการงาน ฯลฯ
  1. HIS: Management Information System หรือ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ทำหน้าที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย การปฏิบัติงานของแพทย์ ข้อมูลการรักษา ซึ่งมีระบบย่อยในส่วนถัดไปที่ทำงานร่วมกัน
  1. EHR: Electronic Health Records หรือ ระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่บันทึกประวัติผู้ป่วย บันทึกการดูแลรักษา ผลตรวจ อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย/ผู้เข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลบุคคล, น้ำหนัก – ส่วนสูง, ค่า BMI, ข้อมูลการได้รับวัคซีน, ข้อมูลการฝากครรภ์ เป็นต้น
  1. EMR: Electronic Medical Records หรือ เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่บันทึกและจัดการข้อมูลและประวัติการรักษา เป็นข้อมูลส่วนที่แพทย์หรือโรงพยาบาลบันทึกและติดตามผู้ป่วย
  1. PHR: Personal Health Records หรือ ข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ป่วยสามารถเข้ามาบันทึกข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น ข้อมูลบุคคล, น้ำหนัก – ส่วนสูง, ประวัติครอบครัว, ความดันโลหิต เป็นต้น รวมทั้งเป็นอีกช่องทางในการติดต่อกับโรงพยาบาล/สถานพยาบาล 

โดยระบบหรือ Modules ทั้งหมดนี้ เมื่อทำงานร่วมกันจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถจัดการบริหารองค์กรได้อย่างครอบคลุม แต่สำหรับบางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลบางแห่งที่มีขนาดเล็ก ก็อาจต้องการระบบหรือฟีเจอร์ไม่กี่ระบบก็เพียงพอกับความต้องการแล้ว 

จ้างบริษัทรับวางระบบโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

สาเหตุที่เราต้องทำความเข้าใจภาพรวมของการวางระบบและระบบย่อยที่รวมอยู่ในระบบโรงพยาบาล นั่นก็เพราะความซับซ้อนและ Modules เหล่านั้น คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเรตการวางระบบโรงพยาบาลให้สูงขึ้นหรือลดลง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ รวมไปถึงรูปแบบการคิดราคาของผู้ให้บริการ

ค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาลมาจากอะไรบ้าง

  1. ขนาดและจำนวนของการใช้งาน (Size of the practice) หากเป็นโรงพยาบาลใหญ่ที่รองรับผู้ป่วยจำนวนมากและมีหลากหลายแผนก ระบบโรงพยาบาลที่นำมาติดตั้งก็ต้องมีพื้นที่เก็บข้อมูลที่เพียงพอและมีระบบประมวลผลที่รวดเร็ว ซึ่งระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็ย่อมมีราคาสูงกว่า
  1. จำนวนผู้ใช้งาน (Number of users) หมายถึง จำนวนของเจ้าหน้าที่ที่ใช้งานระบบโรงพยาบาล ผู้ให้บริการวางระบบโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะคิดราคาจากจำนวนผู้ใช้งานโดยคิดเป็นช่วงๆ เช่น 50 – 100 Users, 101 – 300 Users, 300 Users ขึ้นไป เป็นต้น 
  1. จำนวนของระบบย่อย (Modules) หรือจำนวนของระบบย่อย ซึ่งแต่ละระบบทำงานกันคนละหน้าที่ สำหรับบางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลบางแห่ง อาจใช้ระบบต่างๆ จากคนละเจ้า เช่น ใช้ระบบบัญชีและคลังสินค้าของอีกเจ้าหนึ่ง และใช้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล หรือ HIS ของผู้ให้บริการอีกเจ้า 
  1. ฟีเจอร์หรือความสามารถของระบบ (Features) อีกหนึ่งปัจจัยพื้นฐานซอฟต์แวร์หรือการวางระบบ ยิ่งระบบสามารถทำงานได้มากหรือซับซ้อนเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้น ผู้ให้บริการหลายเจ้า มักจะขายฟีเจอร์เป็นแผน โดยแต่ละแผนจะมีความสามารถแตกต่างกันไป หรือบางเจ้าก็ให้เลือกปรับตามความต้องการได้ (Customization) 
  1. การวางระบบ (Implementation) หมายถึง ค่าบริการในการวางระบบของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจคิดแยกหรือรวมกับค่าระบบ
  1. การอบรม (Training) แน่นอนว่า ภายหลังวางระบบผู้ให้บริการทุกรายจะต้องอบรมเกี่ยวกับระบบและวิธีใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งบางผู้ให้บริการอาจคิดค่าอบรมแยกออกจากค่าระบบ เป็นส่วนที่โรงพยาบาลควรสอบถามให้เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถูกรวมไว้ด้วยตั้งแต่แรกหรือไม่
  1. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ (Ongoing fees) ได้แก่ ค่าสิทธิบัตรของระบบ ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเครือข่าย (Telecom fee) ค่าระบบ Cloud หรือค่าบริการของทีมงานให้ความช่วยเหลือ เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจต้องจ่ายทุกเดือนหรือเหมาจ่ายทั้งปี หรือบางทีอาจคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้รวมไปกับระบบอยู่แล้ว เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลควรสอบถามให้แน่ใจก่อน

อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการวางระบบโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะจัดแพ็กเกจหรือแผนระบบไว้คร่าวๆ ซึ่งแต่ละแผนมักจะต่างกันที่ขนาดและจำนวนการใช้งาน จำนวนผู้ใช้ Module และฟีเจอร์ นอกจากนี้ เนื่องจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีความต้องการและความซับซ้อนในการบริหารงานแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จึงมักจะปรึกษาผู้ให้บริการเพื่อปรับแต่งระบบให้เหมาะกับการใช้งานที่สุด

รูปแบบค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาล 

รูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาลโดยทั่วไป หากติดตั้งกับผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ จะคิดได้ 2 รูปแบบ ซึ่งอาจจะคิดตาม Module แพ็กเกจ และจำนวนผู้ใช้งาน 

1. ค่าใช้จ่ายรูปแบบ Subscription

หากต้องการจ้างวางระบบโรงพยาบาล โดยทั่วไปในท้องตลาด ผู้ให้บริการจะคิดค่าใช้จ่ายในรูปแบบ Subscription เสียค่าใช้จ่ายเป็นรายปี โดยจากการศึกษาของ Health.gov ราคาวางระบบโรงพยาบาลจะอยู่ราว $15,000 – $70,000 หรือประมาณ 490,500 บาท – 2,289,000 บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ในการคิดค่าบริการ Module และจำนวนผู้ใช้งาน 

ข้อดีของการจ่ายค่าวางระบบแบบ Subscription

  • อาจได้ราคาถูก หากเจ้าหน้าที่ที่ใช้งานไม่มาก
  • หากต้องการวางระบบเพียงไม่กี่ Module จะได้ราคาที่ถูกกว่า
  • หากเลือกแผนที่ผู้ให้บริการจัดไว้อยู่แล้ว จะสามารถวางระบบใช้งานได้ทันที 

ข้อเสียของการจ่ายค่าระบบแบบ Subscription

  • โรงพยาบาลอาจไม่ใช่เจ้าของข้อมูลโดยแท้จริง หากต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการย้ายข้อมูล
  • หากต้องการใช้หลาย Module ค่าบริการจะแพงกว่า การจ่ายแบบเหมาระบบ
  • ส่วนใหญ่แล้ว การจ้างวางระบบแบบ Subscription จะเป็นระบบสำเร็จ จะปรับแต่งระบบและฟีเจอร์ได้ไม่มาก

2. วางระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย

รูปแบบการวางระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย จะเหมาะกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่ต้องการระบบโรงพยาบาลที่ทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ สามารถปรับแต่งได้ตามลักษณะการใช้ระบบ 

และระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย หมายความว่า ต่อให้มีเจ้าหน้าที่ทำงานเป็นร้อยคนก็ราคาเดียว ถือเป็นการลงทุนทีเดียวได้ครบ และไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

สำหรับบริการแบบเหมาจ่ายของ 1stCraft  จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. แบบเหมาจ่ายทุกอย่าง “จ่ายทีเดียวจบ” ได้ครบทุก Module เหมาะสำหรับองค์กร/โรงพยาบาลที่ต้องการให้วางระบบโรงพยาบาลทั้งหมดทุกแผนก ซึ่งสามารถติดต่อรับคำปรึกษากับเราว่า ระบบโรงพยาบาลแบบไหนที่เหมาะกับโรงพยาบาลของคุณ
  1. แบบเหมาจ่ายแยกราย Module อีกรูปแบบหนึ่งที่แยกจ่ายเป็น Module ไป เหมาะสำหรับองค์กร/โรงพยาบาลที่ไม่ได้ต้องการระบบย่อยทั้งหมด จะช่วยให้คุณได้ราคาที่ต่ำกว่าแบบเหมาจ่ายทุกอย่าง เช่น ต้องการเพียงระบบ EHR และ EMR เป็นต้น 

ข้อดีของการจ้างวางระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย

  • ได้ราคาที่คุ้มค่ากว่าในระยะยาว ไม่ต้องกลัวหากขนาดงานหรือจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มในอนาคต
  • ได้ระบบที่สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างยืดหยุ่นมากกว่าระบบสำเร็จรูป
  • โรงพยาบาลเป็นเจ้าของข้อมูลเอง โดยเก็บไว้ในคลังข้อมูลแบบ Cloud

ข้อเสียของการจ่ายแบบเหมา

  • ในกรณีที่ต้องการใช้งานเพียงบาง Module อาจไม่คุ้มค่า 
  • ใช้ระยะเวลาในการวางระบบที่นานกว่าแบบสำเร็จรูป เพราะส่วนใหญ่เป็นระบบที่ปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานของโรงพยาบาลโดยเฉพาะ

ก่อนจะเลือกจ้างบริษัทวางระบบโรงพยาบาล

จากข้อมูลในบทความนี้ คุณคงจะพอเข้าใจภาพรวมการว่าจ้างและรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว แนะนำว่าอย่างไรก็ควรปรึกษากับทางผู้ให้บริการโดยตรงว่ามีรูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ให้แจกแจงค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน 

แต่นอกเหนือจากเรื่องรูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่คุณน่าจะใช้ในการพิจารณาเพิ่มเติม

  • ควรสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือ “Ongoing fee” ว่ามีหรือไม่ หรือถ้ามี มีอะไรบ้าง คิดเป็นรายเดือน/รายปี 
  • การอบรมและให้ความช่วยเหลือรวมอยู่ในค่าวางระบบแล้วหรือยัง และมีขอบเขตอย่างไรบ้าง เช่น อบรมกี่ครั้ง ให้ความช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง ถ้าเดินทางมาจะมีค่าใช้จ่ายอย่างไร เป็นต้น
  • ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความเข้าใจในระบบโรงพยาบาลและ/หรือใส่ใจในการศึกษาลักษณะการบริหารงานของโรงพยาบาลของคุณ ก่อนที่จะแนะนำระบบให้ เพื่อที่คุณจะได้ระบบที่ปรับแต่ง ใช้งานได้มีประสิทธิภาพที่สุด

ค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาล อาจจะดูเหมือนว่าค่อนข้างสูงถึงหลักล้านบาทต่อปี แต่ระบบโรงพยาบาลจะช่วยจัดการงานต่างๆ ของคุณให้ง่ายขึ้น สามารถจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หากคุณต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของโรงพยาบาล ให้จัดการง่ายขึ้น ต้องการปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลและการทำงานให้มาอยู่ในโลกดิจิทัล (Digitalization) ระบบโรงพยาบาล คือ คำตอบ 

สนใจ จ้างบริษัทวางระบบโรงพยาบาลหรือกำลังมองหาระบบโรงพยาบาลที่สามารถปรับแต่งได้ มีฟีเจอร์ครบ สามารถติดต่อเราเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

สนใจวางระบบโรงพยาบาล