โรงพยาบาลมีข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ต้องจัดการ ทั้งจากกิจกรรมขององค์กรเองหรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบัน โรงพยาบาลต่างๆ จึงพยายามหาวิธีและเครื่องมือเข้ามาจัดการบริหารโรงพยาบาล หรือก็คือ “การวางระบบโรงพยาบาล” ด้วยเทคโนโลยีผ่านผู้ให้บริการซอฟต์แวร์
ในบทความนี้ จะพาคุณมาทำความเข้าใจการวางระบบโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น และเข้าใจวิธีการคิดราคา เพื่อตอบคำถามที่คุณสงสัยว่า จะจ้างบริษัทวางระบบโรงพยาบาล ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
ทำความเข้าใจการวางระบบโรงพยาบาล
ค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาลนั้น แน่นอนว่า จะอยู่ที่หลักแสนหรือหลักล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย โดยเราอยากพาคุณมาทำความเข้าใจการวางระบบในภาพรวม องค์ประกอบ รวมถึงที่มาของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นำมาคิด
ภาพรวมของการวางระบบโรงพยาบาล
การวางระบบโรงพยาบาล หมายถึง การวางระบบปฏิบัติงานและการจัดการกับทรัพยากรเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น สามารถจัดการกับข้อมูล งาน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายได้ โดยในปัจจุบัน จะวางระบบโรงพยาบาลในรูปแบบของเครื่องมือที่เข้ามาช่วยจัดการกิจกรรมต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่
- HMS: Hospital Management System หรือระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล ประกอบได้ด้วยระบบย่อยๆ ที่ช่วยจัดการงานต่างๆ เช่น งานธุรการ การปฏิบัติการ (Operation) การมอบหมายงาน งานคลัง และระบบการเงิน ฯลฯ
- HIS: Hospital Information System หรือระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ที่เป็นระบบจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น เวชระเบียน ประวัติการรักษา ข้อมูลด้านสุขภาพ หรือระบบงานทำประวัติ ฯลฯ
สำหรับขั้นตอนในการวางระบบโรงพยาบาลนั้น ภายหลังจากที่โรงพยาบาลตกลงกับผู้ให้บริการ (Vendor) แล้ว ทางผู้ให้บริการจะศึกษาวิธีการทำงาน การบริหารงาน และการจัดการกับข้อมูลขององค์กร เพื่อนำเสนอระบบที่เหมาะกับปัญหาขององค์กร
จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการวางระบบซึ่งมีตั้งแต่ติดตั้งฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวระบบปฏิบัติการ และในขณะเดียวกันนั้น ทางผู้บริการจะทำหน้าที่อบรมเกี่ยวกับระบบและวิธีการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ระบบย่อยที่สำคัญในระบบโรงพยาบาล
ระบบโรงพยาบาล คือ ระบบบริหารจัดการหลักที่ประกอบไปด้วยระบบย่อยหรือ Module ที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่
- ERP: Enterprise Resource Planning หรือ ระบบบริการจัดการทรัพยากรที่ปรับให้เหมาะกับลักษณะการดำเนินงานของโรงพยาบาล เป็น HIS ที่ช่วยจัดการกิจกรรมต่างๆ ในงานบริหารทั้งคลังสินค้า ระบบบัญชี บริหารผู้ปฏิบัติงาน ระบบจัดซื้อจัดจ้าง และระบบอื่นๆ ที่ช่วยจัดการงาน ฯลฯ
- HIS: Management Information System หรือ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ทำหน้าที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย การปฏิบัติงานของแพทย์ ข้อมูลการรักษา ซึ่งมีระบบย่อยในส่วนถัดไปที่ทำงานร่วมกัน
- EHR: Electronic Health Records หรือ ระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่บันทึกประวัติผู้ป่วย บันทึกการดูแลรักษา ผลตรวจ อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย/ผู้เข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลบุคคล, น้ำหนัก – ส่วนสูง, ค่า BMI, ข้อมูลการได้รับวัคซีน, ข้อมูลการฝากครรภ์ เป็นต้น
- EMR: Electronic Medical Records หรือ เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่บันทึกและจัดการข้อมูลและประวัติการรักษา เป็นข้อมูลส่วนที่แพทย์หรือโรงพยาบาลบันทึกและติดตามผู้ป่วย
- PHR: Personal Health Records หรือ ข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ป่วยสามารถเข้ามาบันทึกข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น ข้อมูลบุคคล, น้ำหนัก – ส่วนสูง, ประวัติครอบครัว, ความดันโลหิต เป็นต้น รวมทั้งเป็นอีกช่องทางในการติดต่อกับโรงพยาบาล/สถานพยาบาล
โดยระบบหรือ Modules ทั้งหมดนี้ เมื่อทำงานร่วมกันจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถจัดการบริหารองค์กรได้อย่างครอบคลุม แต่สำหรับบางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลบางแห่งที่มีขนาดเล็ก ก็อาจต้องการระบบหรือฟีเจอร์ไม่กี่ระบบก็เพียงพอกับความต้องการแล้ว
จ้างบริษัทรับวางระบบโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
สาเหตุที่เราต้องทำความเข้าใจภาพรวมของการวางระบบและระบบย่อยที่รวมอยู่ในระบบโรงพยาบาล นั่นก็เพราะความซับซ้อนและ Modules เหล่านั้น คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเรตการวางระบบโรงพยาบาลให้สูงขึ้นหรือลดลง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ รวมไปถึงรูปแบบการคิดราคาของผู้ให้บริการ
ค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาลมาจากอะไรบ้าง
- ขนาดและจำนวนของการใช้งาน (Size of the practice) หากเป็นโรงพยาบาลใหญ่ที่รองรับผู้ป่วยจำนวนมากและมีหลากหลายแผนก ระบบโรงพยาบาลที่นำมาติดตั้งก็ต้องมีพื้นที่เก็บข้อมูลที่เพียงพอและมีระบบประมวลผลที่รวดเร็ว ซึ่งระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็ย่อมมีราคาสูงกว่า
- จำนวนผู้ใช้งาน (Number of users) หมายถึง จำนวนของเจ้าหน้าที่ที่ใช้งานระบบโรงพยาบาล ผู้ให้บริการวางระบบโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะคิดราคาจากจำนวนผู้ใช้งานโดยคิดเป็นช่วงๆ เช่น 50 – 100 Users, 101 – 300 Users, 300 Users ขึ้นไป เป็นต้น
- จำนวนของระบบย่อย (Modules) หรือจำนวนของระบบย่อย ซึ่งแต่ละระบบทำงานกันคนละหน้าที่ สำหรับบางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลบางแห่ง อาจใช้ระบบต่างๆ จากคนละเจ้า เช่น ใช้ระบบบัญชีและคลังสินค้าของอีกเจ้าหนึ่ง และใช้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล หรือ HIS ของผู้ให้บริการอีกเจ้า
- ฟีเจอร์หรือความสามารถของระบบ (Features) อีกหนึ่งปัจจัยพื้นฐานซอฟต์แวร์หรือการวางระบบ ยิ่งระบบสามารถทำงานได้มากหรือซับซ้อนเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้น ผู้ให้บริการหลายเจ้า มักจะขายฟีเจอร์เป็นแผน โดยแต่ละแผนจะมีความสามารถแตกต่างกันไป หรือบางเจ้าก็ให้เลือกปรับตามความต้องการได้ (Customization)
- การวางระบบ (Implementation) หมายถึง ค่าบริการในการวางระบบของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจคิดแยกหรือรวมกับค่าระบบ
- การอบรม (Training) แน่นอนว่า ภายหลังวางระบบผู้ให้บริการทุกรายจะต้องอบรมเกี่ยวกับระบบและวิธีใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งบางผู้ให้บริการอาจคิดค่าอบรมแยกออกจากค่าระบบ เป็นส่วนที่โรงพยาบาลควรสอบถามให้เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถูกรวมไว้ด้วยตั้งแต่แรกหรือไม่
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ (Ongoing fees) ได้แก่ ค่าสิทธิบัตรของระบบ ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเครือข่าย (Telecom fee) ค่าระบบ Cloud หรือค่าบริการของทีมงานให้ความช่วยเหลือ เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจต้องจ่ายทุกเดือนหรือเหมาจ่ายทั้งปี หรือบางทีอาจคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้รวมไปกับระบบอยู่แล้ว เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลควรสอบถามให้แน่ใจก่อน
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการวางระบบโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะจัดแพ็กเกจหรือแผนระบบไว้คร่าวๆ ซึ่งแต่ละแผนมักจะต่างกันที่ขนาดและจำนวนการใช้งาน จำนวนผู้ใช้ Module และฟีเจอร์ นอกจากนี้ เนื่องจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีความต้องการและความซับซ้อนในการบริหารงานแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จึงมักจะปรึกษาผู้ให้บริการเพื่อปรับแต่งระบบให้เหมาะกับการใช้งานที่สุด
รูปแบบค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาล
รูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาลโดยทั่วไป หากติดตั้งกับผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ จะคิดได้ 2 รูปแบบ ซึ่งอาจจะคิดตาม Module แพ็กเกจ และจำนวนผู้ใช้งาน
1. ค่าใช้จ่ายรูปแบบ Subscription
หากต้องการจ้างวางระบบโรงพยาบาล โดยทั่วไปในท้องตลาด ผู้ให้บริการจะคิดค่าใช้จ่ายในรูปแบบ Subscription เสียค่าใช้จ่ายเป็นรายปี โดยจากการศึกษาของ Health.gov ราคาวางระบบโรงพยาบาลจะอยู่ราว $15,000 – $70,000 หรือประมาณ 490,500 บาท – 2,289,000 บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ในการคิดค่าบริการ Module และจำนวนผู้ใช้งาน
ข้อดีของการจ่ายค่าวางระบบแบบ Subscription
- อาจได้ราคาถูก หากเจ้าหน้าที่ที่ใช้งานไม่มาก
- หากต้องการวางระบบเพียงไม่กี่ Module จะได้ราคาที่ถูกกว่า
- หากเลือกแผนที่ผู้ให้บริการจัดไว้อยู่แล้ว จะสามารถวางระบบใช้งานได้ทันที
ข้อเสียของการจ่ายค่าระบบแบบ Subscription
- โรงพยาบาลอาจไม่ใช่เจ้าของข้อมูลโดยแท้จริง หากต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการย้ายข้อมูล
- หากต้องการใช้หลาย Module ค่าบริการจะแพงกว่า การจ่ายแบบเหมาระบบ
- ส่วนใหญ่แล้ว การจ้างวางระบบแบบ Subscription จะเป็นระบบสำเร็จ จะปรับแต่งระบบและฟีเจอร์ได้ไม่มาก
2. วางระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย
รูปแบบการวางระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย จะเหมาะกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่ต้องการระบบโรงพยาบาลที่ทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ สามารถปรับแต่งได้ตามลักษณะการใช้ระบบ
และระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย หมายความว่า ต่อให้มีเจ้าหน้าที่ทำงานเป็นร้อยคนก็ราคาเดียว ถือเป็นการลงทุนทีเดียวได้ครบ และไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
สำหรับบริการแบบเหมาจ่ายของ 1stCraft จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
- แบบเหมาจ่ายทุกอย่าง “จ่ายทีเดียวจบ” ได้ครบทุก Module เหมาะสำหรับองค์กร/โรงพยาบาลที่ต้องการให้วางระบบโรงพยาบาลทั้งหมดทุกแผนก ซึ่งสามารถติดต่อรับคำปรึกษากับเราว่า ระบบโรงพยาบาลแบบไหนที่เหมาะกับโรงพยาบาลของคุณ
- แบบเหมาจ่ายแยกราย Module อีกรูปแบบหนึ่งที่แยกจ่ายเป็น Module ไป เหมาะสำหรับองค์กร/โรงพยาบาลที่ไม่ได้ต้องการระบบย่อยทั้งหมด จะช่วยให้คุณได้ราคาที่ต่ำกว่าแบบเหมาจ่ายทุกอย่าง เช่น ต้องการเพียงระบบ EHR และ EMR เป็นต้น
ข้อดีของการจ้างวางระบบโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย
- ได้ราคาที่คุ้มค่ากว่าในระยะยาว ไม่ต้องกลัวหากขนาดงานหรือจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มในอนาคต
- ได้ระบบที่สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างยืดหยุ่นมากกว่าระบบสำเร็จรูป
- โรงพยาบาลเป็นเจ้าของข้อมูลเอง โดยเก็บไว้ในคลังข้อมูลแบบ Cloud
ข้อเสียของการจ่ายแบบเหมา
- ในกรณีที่ต้องการใช้งานเพียงบาง Module อาจไม่คุ้มค่า
- ใช้ระยะเวลาในการวางระบบที่นานกว่าแบบสำเร็จรูป เพราะส่วนใหญ่เป็นระบบที่ปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานของโรงพยาบาลโดยเฉพาะ
ก่อนจะเลือกจ้างบริษัทวางระบบโรงพยาบาล
จากข้อมูลในบทความนี้ คุณคงจะพอเข้าใจภาพรวมการว่าจ้างและรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว แนะนำว่าอย่างไรก็ควรปรึกษากับทางผู้ให้บริการโดยตรงว่ามีรูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ให้แจกแจงค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน
แต่นอกเหนือจากเรื่องรูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่คุณน่าจะใช้ในการพิจารณาเพิ่มเติม
- ควรสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือ “Ongoing fee” ว่ามีหรือไม่ หรือถ้ามี มีอะไรบ้าง คิดเป็นรายเดือน/รายปี
- การอบรมและให้ความช่วยเหลือรวมอยู่ในค่าวางระบบแล้วหรือยัง และมีขอบเขตอย่างไรบ้าง เช่น อบรมกี่ครั้ง ให้ความช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง ถ้าเดินทางมาจะมีค่าใช้จ่ายอย่างไร เป็นต้น
- ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความเข้าใจในระบบโรงพยาบาลและ/หรือใส่ใจในการศึกษาลักษณะการบริหารงานของโรงพยาบาลของคุณ ก่อนที่จะแนะนำระบบให้ เพื่อที่คุณจะได้ระบบที่ปรับแต่ง ใช้งานได้มีประสิทธิภาพที่สุด
ค่าใช้จ่ายในการวางระบบโรงพยาบาล อาจจะดูเหมือนว่าค่อนข้างสูงถึงหลักล้านบาทต่อปี แต่ระบบโรงพยาบาลจะช่วยจัดการงานต่างๆ ของคุณให้ง่ายขึ้น สามารถจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของโรงพยาบาล ให้จัดการง่ายขึ้น ต้องการปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลและการทำงานให้มาอยู่ในโลกดิจิทัล (Digitalization) ระบบโรงพยาบาล คือ คำตอบ
สนใจ จ้างบริษัทวางระบบโรงพยาบาลหรือกำลังมองหาระบบโรงพยาบาลที่สามารถปรับแต่งได้ มีฟีเจอร์ครบ สามารถติดต่อเราเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม