Cover บทความ Takt Time คืออะไร

Takt Time คืออะไร? ทำความรู้จักกับ Takt Time ในเชิงลึก [ครบถ้วนใน 5 นาที]

mins read   1stCraft Team

Takt Time อีกหนึ่งเครื่องมือที่องค์กรอุตสาหกรรมชั้นนำเลือกใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยกลไกของการนำมาประยุกต์ใช้ที่ไม่ยุ่งยากและมากด้วยประสิทธิภาพ ทำให้ Takt Time กลายเป็น หนึ่งในกลยุทธ์ที่เหล่าผู้ประกอบการยึดให้เป็นกระบวนการหลักของการผลิตสินค้า หรือการบริการให้ตอบสนองการผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

ในบทความนี้จะมาอธิบายรูปแบบการทำงาน Takt Time แบบเชิงลึกที่เข้าใจได้ใน 5 นาที พร้อมบอกวิธีคำนวณ Takt Time ง่ายๆ ให้คุณได้นำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต 

ทำความรู้จักกับ Takt Time กลยุทธ์สร้างความสมดุลด้านการผลิต

หากถามถึงกลยุทธ์ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการผลิต Takt Time คงเป็นหนึ่งในแนวทางที่ผู้ประกอบการควรตระหนักถึงอยู่เสมอ เพราะTakt Time จะช่วยเหลือให้องค์กรการผลิตรักษาสมดุลได้ (Line Balancing) 

Takt Time (T/T) หรือ ความเร็วในการผลิต มีที่มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า “จังหวะดนตรี” โดยแนวทางการนำมาปฏิบัตินั้นมีความสอดคล้องกับความหมายของชื่อ ซึ่งผู้ประกอบการและพนักงานจะกำหนดการผลิตสินค้าต่อชิ้นให้มี “จังหวะการผลิต” เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเวลาที่กำหนดไว้

สิ่งสำคัญที่แต่ละองค์กรอุตสาหกรรมต้องทำความเข้าใจ คือความต้องการของลูกค้า หากผู้ประกอบการทำการบ้านมาอย่างดี การนำ Takt Time มาประยุกต์ใช้กับแนวทางการผลิตภายในองค์กรให้เป็นระบบ จะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านการผลิตลง และตอบสนองความต้องการได้ให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ความแตกต่างระหว่าง Takt Time และ Cycle Time

เมื่อพูดถึงกลยุทธ์ หรือแนวทางการจัดการด้านเวลาขององค์การอุตสาหกรรม หลายท่านอาจจะเคยเห็นคำว่า “Cycle Time” ผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยควบคุมการผลิต ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ …แล้วเครื่องมือนี้แตกต่างอย่างไรกับ Takt Time ?   

หากนำมาเปรียบเทียบระหว่างสองแนวทางนี้จะเห็นได้ชัดว่า Cycle Time คือ เวลาจริงที่ผลิตภัณฑ์ของคุณเสร็จสมบูรณ์ และการคำนวณ Takt Time จะช่วยให้คุณทราบความเร็วด้านการผลิตว่าสามารถรองรับต่อความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่ 

ซึ่งในโลกของการผลิตที่สมบูรณ์แบบ Takt Time ควรตรงกับ Cycle Time เพราะถ้า Cycle Time มีมากกว่า Takt Time อาจส่งผลให้กระทบต่อความสมดุลของกระบวนการการผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานล่วงเวลาของบุคลากร, ค่าขนส่งเร่งด่วน, คุณภาพของชิ้นงานไม่เป็นที่น่าพอใจของลูกค้า, สูญเสียยอดขาย และการค้างชำระ หรือสินค้าค้างส่ง เป็นต้น 

เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องควบคุม Cycle Time ไม่ให้น้อยกว่า Takt Time ให้ดีเพื่อสร้างความสมดุลในการผลิต ให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

แนวทางการใช้ Takt Time หาความสมดุลในการผลิต

แม้คุณจะมีความเข้าใจในรูปแบบการใช้งานของ Takt Time แค่ไหน แต่คุณก็ไม่สามารถใช้การผลิตแบบ Takt Time ได้โดยไม่มีการวางแผน หรือการรวบรวมข้อมูลก่อนการผลิต เพราะถ้าระบบการผลิตเลือกมองผ่านขั้นตอนนี้ไป อาจก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมาในอนาคต

รวบรวมข้อมูลก่อนการผลิตแบบ Takt Time ก่อนวางแผน

การวางแผนก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม แต่อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพแผนการดำเนินงานขององค์กรการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่ดีได้ คือ การรวบรวมข้อมูลก่อนการผลิต เพื่อให้คุณได้มีแนวทางในการเตรียมพร้อม 

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลก่อนการผลิตมีอะไรบ้าง

1. คำสั่งซื้อของลูกค้าโดยเฉลี่ย

ผู้ประกอบการควรมีข้อมูลการคาดคะเนแนวโน้มการสั่งซื้อของลูกค้า โดยวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต เช่น ยอดสั่งซื้อ/การผลิตย้อนหลัง แบบรายเดือน หรือรายสัปดาห์ เพื่อที่จะได้ทราบจำนวนการผลิตที่เป็นไปได้ และเตรียมแผนขั้นปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วันครบกำหนด

ผู้ประกอบการต้องทราบวันครบกำหนดโดยประมาณ เพื่อจัดระบบการทำงานให้พร้อมในทุกสถานการณ์ และบรรลุเป้าหมายได้ตามที่ลูกค้าต้องการ

3. อัตราการผลิตในอุดมคติ

วิธีนี้จะช่วยการผลิตของคุณจัดตารางเวลาให้บรรลุเป้าหมาย เพียงทำความเข้าใจระยะเวลา และจำนวนการผลิตว่าควรดำเนินไปในทิศทางไหนถึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เท่านี้ขั้นตอนการผลิตของคุณก็จะเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แบบ 

4. แนวโน้มการป่วย / วันหยุด 

จำนวนวันป่วย และวันลาพักร้อนที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล หากผู้ประกอบการทราบแนวโน้มเหล่านี้ คุณจะสามารถวางแผนการรองรับกระบวนการผลิตที่พนักงานมีส่วนเกี่ยวข้องได้ดีขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ในแต่ละองค์กรอุตสาหกรรมควรเตรียมพร้อมก่อนการผลิต และด้วยความแตกต่างของแต่ละองค์กรจึงส่งผลให้มีข้อมูลส่วนอื่น ที่เฉพาะเจาะจงอีก ซึ่งคุณสามารถนำแนวทางข้างต้นมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องต่อองค์กรเพื่อการวางแผนและการดำเนินการผลิตตามเวลาที่ต้องการ

วิธีคำนวณ Takt Time แบบเข้าใจง่าย

วิธีคำนวณ-Takt-time-แบบเข้าใจง่าย

หมายเหตุ: หน่วยของ Takt Time หรือ T/T คือ หน่วยเวลาต่อชิ้นงาน 1ชิ้น (วินาที/ชิ้น, นาที/ชิ้น หรือชั่วโมง/ชิ้น)

ตัวอย่างการคำนวณ Takt Time

บริษัท A กําหนดเวลาทํางานปกติไว้ที่ 9 ชั่วโมง เวลาพัก 45 นาที 1 ครั้ง ซึ่งต้องการชิ้นงานจำนวน 800 ชิ้นต่อวัน ดังนั้น Takt Time ในการผลิตวินาทีต่อชิ้นคือเท่าไร?

ตัวอย่างการคำนวณ-Takt-Time

สรุปได้ว่าบุคลากรขององค์กรนี้ใช้เวลาการผลิตชิ้นงาน 1 ชิ้นให้เสร็จได้ ภายใน 37.2 วินาที โดยผู้ประกอบการจะนําค่า Takt Time มาเทียบรอบเวลาการทำงานของบุคลากรแต่ละคน ว่าใช้เวลาเกินกว่า Takt Time หรือไม่

หากพนักงานใช้เวลาเกินกว่ากําหนด อาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถผลิตจำนวนสินค้าให้ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาวิธีแก้ไข เช่น ปรับลดเวลาทํางานของบุคลากรให้อยู่ภายใต้เวลาการทำงานของ Takt Time หรือเพิ่มเวลาการทํางานแทน (O.T.) โดยผู้ประกอบการต้องทำการคำนวณTakt Time ใหม่อีกครั้ง โดยเราจะเรียกค่า Takt Time ส่วนนี้ว่า Actual Takt Time

ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย Takt Time

Takt Time ถือเป็นเครื่องมือชั้นเยี่ยมที่ช่วยให้การผลิตของแต่ละองค์กรอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอัตราการการผลิตคงที่และต่อเนื่องตามความต้องการ, กำจัดและจัดการสิ่งที่ผลิตเกินตามความต้องการ, รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการทำงานให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้อาจเป็นคำตอบสำคัญว่าทำไมสายการผลิตจำเป็นต้องใช้ Takt Time

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Takt Time 

เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่าที่ไม่สามารถซื้อคืนกลับมาได้ ดังนั้น “เวลา” จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลประโยชน์ทางด้านการผลิตอย่างมาก ยิ่งองค์กรไหนเลือกบริหารเวลาการผลิตได้อย่างคุ้มค่า ผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมมีประสิทธิภาพแน่นอน 

และนี่อาจเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการที่เลือกใช้ Takt Time มาดูเลยดีกว่าว่าประโยชน์ของเครื่องมือนี้ มีแนวโน้มเสริมสร้างคุณภาพให้การผลิตของคุณได้จริงหรือไม่

1.ประสิทธิภาพการทำงาน 

เวลาจะช่วยให้ผู้ประกอบการและบุคลากรสายการผลิต เลือกใช้แนวทางที่เกิดประสิทธิผลและมีความมั่นใจว่า “ของเสีย” จะถูกกำจัดออกจากกระบวนการได้มากที่สุด เพราะกระบวนการนี้จะช่วยลดเวลาในการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด และสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

2.การมองเห็นภาพรวม 

นี่อาจประโยชน์หลักของ Takt Time เลยก็ว่าได้ สำหรับการมองเห็นภาพรวมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต รวมไปถึงผู้ประกอบการ ที่จะเห็นภาพแนวโน้มการทำงานของแต่ละขั้นตอนกระบวนการสร้างจากแผนงานได้อย่างชัดเจน เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือถึงอุปสรรคและปัญหาในอนาคตได้ทันท่วงที

จัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Takt Time

องค์กรอุตสาหกรรมจะสร้างผลประกอบการที่น่าพึงพอใจได้ด้วย “เวลา” ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด และ Takt Time เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยรักษาสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) ให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม เพราะTakt Time สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลา, เสริมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลประกอบการให้บรรลุได้ตามเป้าหมาย

การลดต้นทุนถือเป็นข้อได้เปรียบขั้นพื้นฐานที่มีผลอย่างมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญของการรักษาข้อได้เปรียบนี้ไว้คือ การควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามแผนได้ และเวลาให้รองรับต่อความต้องการ รวมไปถึงความพร้อมในการรับมือทุกสถานการณ์เพื่อพัฒนาผลประกอบการในอนาคต 

ซึ่งระบบ ERP เป็นอีกตัวเลือกที่จะช่วยยกระดับองค์กรด้วยนวัตกรรมล่าสุด พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กระบวนกาผลิตสินค้าของคุณ ก้าวสู่ความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย

บริการ ERP Crafter - 1stCraft Digital Solutions