Cover บทความ SAP คืออะไร? แตกต่างจาก ERP ตัวอื่นๆ อย่างไร? [ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่]

SAP คืออะไร? แตกต่างจาก ERP ตัวอื่นๆ อย่างไร? [ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่]

mins read   1stCraft Team

ถ้าหากพูดถึง ERP จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการและบริหารองค์กรได้แบบอัตโนมัติ หลายฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในระบบ ERP ที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมสูง และมีโซลูชั่นที่โดดเด่นก็คือ SAP 

หากคุณกำลังมองหาโซลูชั่นในการจัดการระบบในธุรกิจ บทความนี้มาทำความรู้จักกับ SAP และดูว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างจาก ERP ตัวอื่นๆ ยังไงบ้าง

SAP คืออะไร? มีจุดเด่นของระบบยังไงบ้าง

SAP (System, Application and Products) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการระบบต่างๆ ภายในธุรกิจได้อย่างราบรื่น

หรือถ้าทำความเข้าใจง่ายๆ SAP (เอสเอพี) ก็คือระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ที่ให้บริการโดยบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกที่ชื่อว่า SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมนี 

โดย SAP เป็นชื่อย่อจากชื่อภาษาเยอรมันที่ชื่อว่า Systemanalyse Programmentwicklung ที่แปลว่า การพัฒนาโปรแกรมเพื่อระบบวิเคราะห์ข้อมูล และในตอนนี้ได้ใช้ชื่อใหม่คือ SAP SE

ซอฟต์แวร์ของ SAP ใช้งานยังไง?

ซอฟต์แวร์ของ SAP ใช้งานยังไง?

แนวคิดของการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาจากปัญหาที่โมเดลธุรกิจแบบเดิม จะมีการทำงานแบบแยกฝ่าย และแต่ละฝ่ายก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลการทำงานเอาไว้เฉพาะในฝ่ายของตัวเอง 

เมื่อต้องทำงานร่วมกันข้ามแผนกการเข้าถึงข้อมูลก็ทำได้ยาก รวมไปถึงการต้องทำสำเนาข้อมูลเพื่อส่งให้กับแผนกอื่นๆ ก็ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการจัดทำและจัดเก็บข้อมูล และยังทำให้มีโอกาสที่ข้อมูลจะมีการผิดพลาดหรือตกหล่นได้

ซอฟต์แวร์ของ SAP จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้การทำงานร่วมกันในองค์กรหรือธุรกิจ เป็นรูปแบบของการรวมศูนย์กลางเอาไว้ที่เดียว และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง นำไปใช้งานต่อได้ง่าย 

จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการความซับซ้อนของระบบการทำงานของฝ่ายต่างๆ ให้สะดวก และมีการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงกันได้ง่าย รวดเร็ว ลดเวลาการทำงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถเติบโตและสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น

กระบวนการทำงานของซอฟต์แวร์ SAP

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการงานของระบบ SAP มากยิ่งขึ้น เรามาดูกันว่าระบบนี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึงการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้ยังไงบ้าง

1. การจัดหาสินค้า

โดยหลังจากที่ทางลูกค้าทำการตกลงสั่งสินค้าจากทางทีมขายแล้ว การใช้งาน SAP จะช่วยให้พนักงานขายสามารถเช็กได้ทันทีเลย ว่าวัตถุดิบที่จะใช้ผลิตสินค้ามีเพียงพอ หรือต้องจัดหามาจากเวนเดอร์เจ้าอื่นเข้ามาเพิ่ม

ระบบนี้จึงทำให้เห็นว่าฐานข้อมูลทั้งหมดของสินค้าคงคลังเพื่อการผลิต ถูกรวมเอาไว้ในที่เดียว ทีมขายจึงเช็กได้ทันทีผ่านข้อมูลที่อัปเดตแบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องรอการติดต่อจากทีมอื่น หรือถ้าเช็กแล้วสินค้ายังมีอยู่ในคลังและพร้อมส่ง ก็สามารถสั่งสินค้าให้ส่งไปยังลูกค้าได้ทันที

2. การวางแผนจัดการสินค้า

หากสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อไม่มีในคลังสินค้า ก็สามารถส่งคำขอผลิตสินค้าเข้าไปยังระบบ ซึ่งในระหว่างนี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต ก็อัปเดตข้อมูลวัตถุดิบสำหรับการผลิตได้ทันที เพื่อวางแผนให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลา

3. การผลิตสินค้า

ในระหว่างการผลิตสินค้า ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว ประสิทธิภาพในการผลิต จะถูกอัปเดตขึ้นบนระบบแบบเรียลไทม์ ทำให้ทีม HR สามารถประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงวางแผนจัดหาเจ้าหน้าที่เพื่อซัพพอร์ตการงานได้อย่างตรงจุด

4. การเรียกเก็บเงิน

เมื่อสินค้าผลิตและจัดส่งถึงลูกค้าแล้ว แผนกบัญชีก็สามารถส่งใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าผ่านทางระบบนี้ จะช่วยให้สามารถติดตามสถานะการชำระเงิน และการบันทึกข้อมูลด้านตัวเลขต่างๆ เข้าสู่ระบบได้อย่างแม่นยำ

ความแตกต่างของ SAP กับ ERP ตัวอื่นๆ

1. SAP เป็นโซลูชั่นที่ใช้งานได้ครอบคลุม

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีพนักงานหลักสิบคน ไปจนถึงหลักแสนคน ก็สามารถใช้งานได้ครอบคลุม SAP เป็นระบบ ERP แบบคลาวด์ที่รวบรวมทุกเครื่องมือที่ธุรกิจต้องการใช้งาน พร้อมมีทีมเทคนิคที่ให้บริการซัพพอร์ทลูกค้าที่ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

2. SAP เป็นเทคโนโลยีชั้นนำยอดนิยม

ด้วยประสบการณ์ของ SAP ที่มากกว่า 40 ปี ในการให้บริการระบบ ERP กับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ SAP เลือกใช้งานเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อให้ระบบการใช้งานที่ทันสมัย ปลอดภัย และอัปเดตได้อย่างสม่ำเสมอ

3. SAP มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

SAP ออกแบบระบบการใช้งานที่ยืดหยุ่นปรับใช้งานได้ตามความต้องการของธุรกิจ โดยสามารถเลือกเฉพาะเครื่องมือที่ต้องการใช้งาน และจ่ายเท่าที่ใช้งานได้เลย

4. SAP มีความปลอดภัยสูง

ระบบของ SAP สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้ระบบจะใช้งานผ่านคลาวด์ ก็มีความปลอดภัยสูงในการปกป้องข้อมูลและภัยคุกคามต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อการใช้งาน

ตัวอย่างการใช้งาน SAP ในการจัดการธุรกิจ

1. ช่วยให้ผู้ผลิตรถบรรทุก ระบุต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

ก่อนหน้านี้ บริษัทที่ผลิตรถบรรทุกสามารถผลิตสินค้าและมีการเติบโตของธุรกิจไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็พบว่ามีปัญหาการตกหล่นของข้อมูลในบางจุด ทางผู้ผลิตจึงมองหาโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา และเก็บข้อมูลที่ช่วยให้สามารถระบุต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ

เมื่อมีการนำ SAP มาใช้งาน ทางบริษัมจึงลดความซับซ้อนในการจัดการคำสั่งซื้อเข้ามากว่า 50,000 รายการ ได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถทำรายงานทางการเงินและบัญชีได้อย่างละเอียด จึงมีข้อมูลชิงลึกแบบเรียลไทม์ของต้นทุนการผลิต ที่ช่วยให้บริษัทรักษาผลกำไรจากการผลิตสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

2. ช่วยรองรับการขยายตัวสาขาของ Supermarket

ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเบลเยียม กำลังมองหาระบบที่ช่วยในการขยายสาขาย่อยต่างๆ แต่พอจะเลือกสร้างระบบ ERP ขึ้นมาใหม่ ก็ดูเป็นเรื่องยากเกินไปกับระบบที่มีความซับซ้อนและมีข้อมูลในปริมาณมหาศาลที่ต้องจัดการ ทางบริษัทจึงเลือกใช้ SAP ที่ดูตอบโจทย์มากกว่า

ด้วยระบบของ SAP ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนนมากได้รวดเร็ว ทำให้ระบบต่างๆ ในการทำซุปเปอร์มาร์เก็ตมีความลื่นไหลได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข้อมูลสินค้าคงคลัง ยอดขายได้แบบเรียลไทม์ 

อยากใช้งาน SAP มีค่าใช้จ่ายยังไงบ้าง?

สำหรับธุรกิจที่อยากใช้งาน SAP สามารถเลือก Subscription ได้ตามแผนที่คุณต้องการได้ แบ่งออกเป็น 2 แผนหลักๆ คือ

1. SAP Basic Edition

ราคาของแผนจะอยู่ที่ ประมาณ 300,000 บาท ต่อปี

โดยสามารถเลือกแผนได้ตั้งแต่ 3 เดือน – 36 เดือน

2. SAP Standard Edition

ราคาของแผนจะอยู่ที่ ประมาณ 2,000,000 บาท ต่อปี

โดยสามารถเลือกแผนได้ตั้งแต่ 3 เดือน – 36 เดือน

SAP ระบบ ERP ยอดนิยมของธุรกิจหลากหลาย

สำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาระบบ ERP บนระบบคลาวด์ เพื่อนำมาใช้งานในการจัดการระบบต่างๆ ในธุรกิจ SAP ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่มีประสบการณ์ในการให้บริการมายาวนาน มีลูกค้าเป็นธุรกิจเจ้าใหญ่มากมาย

หากคุณมองแล้วว่า SAP เป็นระบบที่ดูตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจ ก็สามารถติดต่อเพื่อทดลองใช้งานดูก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาว่าเหมาะสมและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายหรือไม่