Cover บทความ EOQ คืออะไร? สูตร EOQ และวิธีคำนวณหาจุดคุ้มค่าในการสั่งซื้อของเข้าคลัง

EOQ คืออะไร? สูตร EOQ และวิธีคำนวณหาจุดคุ้มค่าในการสั่งซื้อของเข้าคลัง

mins read   1stCraft Team

“เราจะหา EOQ คำนวณ EOQ ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมได้อย่างไร?” เพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนจม จากการสั่งซื้อของมาสต็อกไว้ทั้งเพื่อรอการผลิต หรือเพื่อรอขาย เพราะส่งผลต่อต้นทุนการสต็อกของที่มากขึ้นๆ ในทุกปี 

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก EOQ คืออะไร และวิธีคำนวณ สูตร EOQ (Economic Order Quantity) เพื่อหาปริมาณหรือจำนวนในการสั่งซื้อที่คุ้มหากัน

EOQ (Economic Order Quantity) คืออะไร

EOQ หรือ Economic Order Quantity หมายถึง ปริมาณหรือจำนวนการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม คุ้มค่า หรือประหยัดที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดต้นทุนจมจากการสต็อกสินค้าในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ ต้นทุนเสื่อมสภาพ ฯลฯ 

การคำนวณหา EOQ จะช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าควรสั่งของมาจำนวนหรือปริมาณมากเท่าไร โดยคำนวณจากความต้องการสินค้า (Demand) ก่อนที่จะผลิตหรือนำเข้ามาสต็อกไว้

ยกตัวอย่าง การหา EOQ ง่ายๆ เช่น บริษัทที่จะผลิตรถยนต์ จะคำนวณหาครัวเรือนที่มีกำลังซื้อรถยนต์ก่อนว่ามีกี่ครัวเรือน แล้วน่าจะขายได้กี่คัน เพื่อประมาณจำนวนวัสดุ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ที่ต้องสั่งซื้อเพื่อการผลิตในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ผลิตรถยนต์ออกมาเกินความต้องการของตลาด เป็นต้น

กราฟจุด EOQ หรือปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด
จุด EOQ หรือปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด eazystock.medium.com

สูตรการคำนวณ EOQ และตัวแปรต่างๆ 

สูตรการคำนวณ EOQ และตัวแปรต่างๆ
ที่มารูปภาพ www.shopify.com

สูตรที่ใช้ในการคำนวณ EOQ หรือ Economic Order Quantity คือ EOQ = 2DSH

โดยแทนค่าในสูตรด้วย

  • EOQ = จำนวนการสั่งซื้อที่ประหยัด 
  • D = ปริมาณความต้องการสินค้าทั้งปี 
  • S = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง 
  • H = ต้นทุนในการเก็บรักษาต่อหน่วยของทั้งปี 

ตัวอย่างการคำนวณ EOQ ง่ายๆ

ยกตัวอย่างการคำนวณง่ายๆ เช่น ร้านขายรองเท้าหนัง ที่มีความต้องการหรือขายได้ต่อปี 1,000 คู่ (D) โดยมีต้นทุนในการสั่งซื้อรองเท้ามาสต็อกคือ คู่ละ 100 บาท (S) และมีต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าทั้งปีตกคู่หรือหน่วยละ 20 บาท (H)

ดังนั้น เราสามารถแทนสูตรได้ว่า EOQ = 2100010020 หรือ EOQ = √ (2x1000x100) ➗ 20

  • D = 1,000 
  • S = 100
  • H = 20

คำตอบ จำนวนปริมาณในการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมหรือ EOQ = 100 หน่วย

ดังนั้น จำนวนสินค้าที่ร้านขายรองเท้าร้านนี้ควรสั่งมาไว้ก็คือ 100 คู่ / ล็อตการสั่ง 

นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ EOQ ที่หาได้เพื่อมาคำนวณหาจำนวนครั้งที่ควรสั่งต่อปี และระยะเวลาในการสั่งซื้อได้อีกด้วย

วิธีคำนวณหาจำนวนครั้งในการสั่งซื้อต่อปี

ใช้สูตร: จำนวนครั้ง = D ➗ EOQ

หรือจากตัวอย่างก็คือ 1,000 ➗ 1000 = 10 ครั้ง / ปี 

วิธีคำนวณหาระยะเวลาในครั้งการสั่งซื้อ

ใช้สูตร: ระยะเวลาในการสั่งซื้อ = จำนวนวันทำงานในปีนั้น ➗ จำนวนครั้งที่สั่ง

หรือจากตัวอย่างก็คือ 365 ➗ 10 = 35.6 ครั้ง หรือหมายความว่าทุกๆ 35 – 36 วันจะสั่งซื้อรองเท้ามาไว้ 1 ล็อต 

สรุปได้ว่า ร้านขายรองเท้าจากตัวอย่าง มี EOQ ในการสั่งสินค้า ตลอด 1 ปี คือ สั่งซื้อ 10 ล็อตต่อปี ล็อตละ 100 คู่ ซึ่งมีระยะเวลาสั่งห่างกันราว 35 วัน

EOQ แม่นยำแค่ไหน? รู้จักปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคำนวณ 

จากตัวแปรในการคำนวณหา EOQ แล้ว จะเห็นได้ว่ามีเพียง 3 ปัจจัยที่นำมาคิด ได้แก่

1) D = ปริมาณความต้องการสินค้าทั้งปี 

2) S = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง 

3) H = ต้นทุนในการเก็บรักษาต่อหน่วยของทั้งปี ซึ่งช่วยให้เราพอมองเห็นและประมาณการปริมาณที่ควรสั่งเท่านั้น

เรื่องความแม่นยำของ EOQ นั้น ว่าอ้างอิงได้มากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรารู้จักปัจจัยที่กระทบต่อการคำนวณและต้นทุนต่างๆ ของเรามากแค่ไหน 

โดยปัจจัยเหล่านี้คือ ปัจจัยที่ธุรกิจหรือโรงงานต้องรู้เพื่อให้สามารถคำนวณหา EOQ ได้แม่นยำมากขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ Economic Order Quantity

  1. จุดสั่งซื้อรอบต่อไป (Reorder Point) หมายถึง เป็นช่วงเวลาที่จำเป็นต้องสั่งซื้อสต็อกอีกชุดใหม่หรือเติมสต็อกที่มีอยู่ EOQ จะถือว่าคุณสั่งซื้อในปริมาณเดียวกันในแต่ละจุดสั่งซื้อใหม่
  1. ระยะเวลารอสินค้า (Purchase order lead time) หมายถึง เวลาทั้งหมดในการสั่งซื้อ รอสินค้า จนได้สินค้า หรือเรียกว่า “ระยะเวลา Lead Time” รอบเวลาในการสั่งซื้อซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนได้รับสินค้าเรียบร้อย
  1. ต้นทุนการจัดซื้อต่อหน่วย (Purchasing cost per unit) หมายถึง ต้นทุนต่อหน่วยการสั่งซื้อที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการสั่งซื้อ เช่น ซื้อ 1000 ชิ้น กับซื้อ 10 ชิ้น ก็มีราคาต่อหน่วยเท่ากัน เพราะ EOQ จะคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเท่ากันทั้งหมด
  1. สินค้าหมดสต็อก (Stockouts) หมายถึง สถานการณ์ที่ธุรกิจร้านค้าไม่มีของเหลืออยู่ในสต็อกสินค้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้น นอกจากจะทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถคำนวณ EOQ ได้ เพราะตัวแปรในการคำนวณคลาดเคลื่อน ธุรกิจควรเตรียมของให้พร้อมสำหรับการค้าขาย
  1. ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของสินค้า การประเมิน และต้นทุนความเสียหายจากการผลิตที่ไม่เป็นไปตามคุณภาพ สำหรับปัจจัยข้อนี้ เป็นสิ่งที่ EOQ ไม่ได้นำมาคำนวณด้วย
  1. อุปสงค์หรือความต้องการสินค้า (Demand) หมายถึง ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคหรือตลาด เป็นปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจต้องรู้ว่ามีปริมาณเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ แล้วผู้บริโภคต้องการตอนไหน (อุปสงค์เกิดขึ้นช่วงใด)
  1. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevant Cost) หมายถึง ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตรถยนต์อาจปรับลดการผลิตลง เพราะยางรถยนต์มีแนวโน้มต้นทุนสูงข้ึน เป็นต้น
  1. ต้นทุนในการถือครองสินค้า (Carrying Cost) หมายถึง ต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัสดุหรือสินค้า ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งปัจจัยนี้ ไม่ได้ถูกนำมาคำนวณในการหา EOQ

ประโยชน์ของการคำนวณ EOQ ต่อธุรกิจ คลังสินค้าและโรงงาน

จุดประสงค์หลักของการหา Economic Order Quantity ก็คือ การหาปริมาณการสั่งซื้อวัสดุ สินค้า ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด เพื่อที่ลดต้นทุนต่อหน่วยสินค้าลงทั้งจากต้นทุนการสั่งซื้อ การขนส่ง ต้นทุนการจัดเก็บรักษา และต้นทุนจมอื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การที่เราจะสามารถประมาณการปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมได้อย่างแม่นยำนั้น เป็นเรื่องที่ยากมากๆ หากไม่มีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การคอยดูแลและมอร์นิเตอร์ปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณสินค้าหรือวัสดุในคลัง การเคลื่อนย้ายสินค้า การขนส่ง ออร์เดอร์ ฯลฯ อยู่ตลอดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งธุรกิจสามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียกกว่า WMS หรือ Warehouse Management System เข้ามาช่วยติดตามธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในคลังหรือโรงงานได้

สรุปท้ายบทความ

การควบคุมต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจ จะขาดทุนหรือได้กำไรอาจจะอยู่ที่การจำกัดต้นทุนลงให้น้อยและเหมาะสมที่สุด การคำนวณ Economic Order Quantity หรือ EOQ เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ธุรกิจและฝ่ายการผลิตควรใช้ เพื่อควบคุมการสั่งซื้อสินค้าหรือวัสดุที่มากเกินจำเป็น ซึ่งนำมาซึ่ง “Muda หรือความสูญเปล่าทั้ง 8”  ที่ควรกำจัดในหลายข้อด้วยกัน

ถ้าธุรกิจรู้ว่า จุดสมดุลและปริมาณในการสั่งซื้อแต่ละครั้งควรเป็นเท่าไร เชื่อว่า คุณจะสามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรได้ไม่น้อย

อ่านเพิ่มเติม: การวางแผนการผลิตอย่างที่ดีเป็นอย่างไร? ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างไรบ้าง

บริการ ERP Crafter - 1stCraft Digital Solutions