Cover บทความ วิธีนำ Big Data ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ

วิธีนำ Big Data ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ [พร้อมเคล็ดลับการนำไปใช้]

mins read   1stCraft Team

“Big Data” หรือ “ข้อมูลมหัต” ที่เรียกกันในภาษาไทย เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากจากหลากหลายแหล่งมาประมวลผล วิเคราะห์ เพื่อให้ได้ความรู้หรือข้อสรุปบางอย่างมาใช้ประโยชน์ 

ซึ่ง Big Data ไม่เพียงแต่ใช้ในองค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ทุกวันนี้ บริษัทหรือองค์กรไม่ว่าจะเป็น ขนาดเล็กหรือขนาดกลางเองก็ใช้ Big Data เช่นกัน เพราะสามารถช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น

ในยุคข้อมูลข่าวสารและดิจิทัล (Information & Digital Age) ไม่ว่าบริษัทหรือองค์กรของคุณจะมีขนาดเท่าไร เรื่อง Big Data ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น การใช้ Big Data ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ในบทความนี้ จะช่วยแนะนำวิธีนำ Big Data ไปใช้ในองค์กรแบบเข้าใจง่าย ทำตามได้จริง

อ่านตามหัวข้อ

ทำไมจึงไม่ควรมองข้ามการใช้ Big Data ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ 

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ/องค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ การใช้ข้อมูลก็สามารถช่วยสร้างความได้เปรียบต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ Big Data ที่รวมเอาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประมวลผลและวิเคราะห์ร่วมกัน ก็จะช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ มีข้อมูลเชิงลึก (insight) ประกอบการวางแผนหรือตัดสินใจ 

การใช้ Big Data ในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดเฉพาะอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและการตลาดดิจิทัลเท่านั้น แต่การยังกระจายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 

  • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจอาหาร
  • โรงพยาบาลและการให้บริการทางการแพทย์ (Healthcare)
  • โรงงานอุตสาหกรรมและสายพานการผลิต
  • Human Resource หรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
  • ธุรกิจและการตลาด
  • การเงินและการธนาคาร 
  • การขนส่งและโลจิสติก (Logistic)
  • เกษตรกรรม
  • อุตสาหกรรมการบริการ เช่น โรงแรม สปา 
  • ฯลฯ

Big Data จะช่วยให้เข้าใจธุรกิจและอุตสาหกรรมของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนมีข้อมูลและข้อมูงเชิงลึกจากตลาด เข้าใจลูกค้าและสถานการณ์ได้ดีขึ้น ช่วยให้สามารถนำมาปรับปรุงการดำเนินงาน นำมาสร้างแผนเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายและโอกาส รวมถึงช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตรงจุด 

นอกจากนี้ Big Data ยังช่วยผนึกรวมข้อมูล (integrate) ในโลกออฟไลน์และบนโลกออนไลน์เข้าด้วยกัน ช่วยให้ธุรกิจอำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า/ผู้รับบริการได้ทั้งสองทาง

ตัวอย่างการใช้ Big Data ในธุรกิจและองค์กรด้านต่างๆ

ตัวอย่างการใช้ Big Data ในธุรกิจและองค์กรด้านต่างๆ

เพื่อให้เข้าใจประโยชน์และการใช้งาน Big Data มากยิ่งขึ้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก Big Data ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยสังเขป

1. การขายและการตลาด

ในแง่มุมของธุรกิจและการตลาด โดยเฉพาะการทำ Digital Marketing จะใช้ Big Data เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า หรือ “Customer Insight” ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น

  • Ebay เว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ระดับโลก ปรับ Homepage ให้เป็นหน้าฟีดข่าวสาร (news feed) เหมือนกับโซเชียลมีเดียเพื่อนำเสนอสิ่งที่ผู้ใช้งานน่าจะสนใจ 

จากการติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ เข้าหมวดสินค้าใดของผู้ใช้งานแต่ละรายจนได้ “Insight” เข้าดูสินค้าอะไร และกดใส่ตะกร้าอะไร เป็นต้น รวมไปถึงการยิงโฆษณาสินค้าที่ผู้ใช้งานน่าจะสนใจ เราจะเห็นตัวอย่างแบบนี้ได้ในแอปฯ ซื้อของออนไลน์อย่าง Shopee และ Lazada เช่นเดียวกัน

  • Starbucks มีแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ติดตามและทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย รวมไปถึงเข้าใจภาพรวมของลูกค้า รู้ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมอย่างไร ชอบอะไร ทั้งในระดับบุคคลและภาพ

รวมลูกค้า Starbucks สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการมอบโปรโมชันและยิงโฆษณาแบบ Personalization ตลอดจนปรับแผนการตลาดในภาพรวม และการออกเมนูใหม่ๆ ที่ตอบสนองความชอบของกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงใจ

  • เว็บไซต์ธุรกิจ ธุรกิจที่มีเว็บไซต์สามารถเชื่อมต่อเว็บไซต์เข้ากับระบบ CRM รวมไปถึงระบบช่วยขายอื่นๆ เพื่อเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ทั้งพฤติกรรมการเข้าใช้เว็บไซต์ เลือกดูสินค้าอะไร เข้าถึงเว็บไซต์จากช่องทางไหน แนวโน้วในการตัดสินใจซื้อ ฯลฯ สามารถตั้งระบบทำการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) และเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ในจังหวะที่เหมาะสม 

2. สุขภาพและการแพทย์ (Healthcare)

ในด้านสุขภาพและการแพทย์มักจะใช้ Big Data ในการจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาลของผู้ป่วย ช่วยให้โรงพยาบาลหรือสถานประกอบการทางการแพทย์มีข้อมูล ประวัติการรักษา/การใช้ยา ประวัติการแพ้ยาและโรคที่เคยเป็น ฯลฯ ผ่านการใช้เทคโนโลยีจัดการข้อมูลต่างๆ 

เช่น ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHRs) ระบบคลินิก (Clinic System) ระบบจัดการข้อมูลห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (LIS) เป็นต้น โดยการใช้ Big Data ในการให้บริการทางการแพทย์ถูกนำมาช่วยจัดการงานต่างๆ เช่น

  • ช่วยวินิจฉัยอาการ โรค และวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางรักษา
  • ลดภาระในการซักประวัติและการติดตามข้อมูลสุขภาพ
  • ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพจากข้อมูลที่เพียบพร้อม และถูกจัดการอย่างเป็นระบบพร้อมใช้งาน
  • ช่วยจัดการระบบงานคลัง (Inventory System) ของโรงพยาบาล รวมไปถึง การเงินและการบัญชี จากการที่ระบบต่างๆ เชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลกัน

3. โรงงานและอุตสาหกรรม

ในโรงงานและอุตสาหกรรมจะใช้ Big Data ในการจัดการสินค้าคงคลัง ทรัพยากร/วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ การขนส่ง ตลอดจนการเงินและบัญชี ผ่านระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เทคโนโลยีที่ช่วยจัดการข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลจากฝ่ายงานต่างๆ และช่วยให้โรงงานหรือองค์กรบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ 

ยกตัวอย่างการใช้ Big Data ในโรงงานและสายการผลิต 

  • ช่วยพัฒนาระบบการผลิต จาก Big Data เช่น การนำเข้าวัตถุดิบ ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต คุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุดิบ ฯลฯ ใช้วิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาได้ ตลอดจนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น
  • ช่วยให้จัดการธุรกิจได้แบบองค์รวม โดยสามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น งานคลัง การตลาด ง่ายขาย ง่ายจัดหาจัดซื้อ ฯลฯ หากมีออเดอร์เข้ามามาก ระบบจะรู้ทันทีว่า มีวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพียงพอหรือไม่ สายผลิตต้องการอะไรเพิ่ม ระบบสามารถแจ้งล่วงหน้าได้ทันที เป็นต้น
  • ช่วยสนับสนุนระบบขนส่ง ผ่านการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี GPS ช่วยวางแผนการขนส่งเพื่อลดระยะเวลา จัดส่งได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดรอหรือ Lead time ทั้งหมดของลูกค้าลงได้

เครื่องมือหรือเทคโนโลยีจัดการข้อมูลมหัต (Big Data Tools)

ด้วยลักษณะสำคัญของ Big Data ประกอบไปด้วยปริมาณ (volume) ที่มหาศาล และมีความหลากหลาย (variety) ทำให้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีศักยภาพเพียงพอเข้ามาจัดการข้อมูล 

โดยเครื่องมือจัดการกับ Big Data ก็หมายถึง เทคโนโลยีหรือระบบที่สามารถติดตามหรือเก็บข้อมูลจากแหล่งที่มาหลายแหล่ง จัดการข้อมูล และช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ มีทั้งเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับองค์กรหรือธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก 

ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยจัดการกับ Big Data 

  • Kissmetric คือ เครื่องมือวิเคราะห์โปรดักต์และการตลาด จัดการกับข้อมูลด้านการตลาดและข้อมูลลูกค้า ช่วยเชื่อมต่อข้อมูลจากซอฟต์แวร์การตลาดต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ
  • Microsoft Power BI ซอฟต์แวร์ที่ช่วยเชื่อมต่อข้อมูลจากซอฟต์แวร์และระบบต่างๆ บนโลกดิจิทัล แล้วนำมาประมวลผล ทำ Data Visualization เป็น Dashboard ที่ธุรกิจสามารถเลือกปรับเพื่อดูข้อมูลด้านต่างๆ ที่ต้องการได้ เช่น ยอดขาย กำไร ต้นทุน จำนวนลูกค้า อัตราการเติบโตของธุรกิจ ฯลฯ
  • ระบบโรงพยาบาลต่างๆ EHR, HIS, HMS ที่ทำงานร่วมกัน ช่วยให้โรงพยาบาลและสถานให้บริการทางการแพทย์เข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ช่วยให้สามารถบริการได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยจัดการงานบริหาร (Operation) การคลัง การเงินและบัญชี ผ่านการแบ่งปันข้อมูลของระบบต่างๆ เป็นต้น
  • ERPs หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากร ระบบที่ทำหน้าที่เป็นทั้งระบบการเงิน ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบจัดซื้อจัดจ้าง ระบบบริหารงานและการผลิต ฯลฯ จัดการกับข้อมูลทั้งหมดขององค์กร เป็นระบบที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับองค์กรแต่ละองค์กรได้ ช่วยให้องค์กรมี Big Data และข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่สร้างความได้เปรียบในแง่มุมต่างๆ ได้
  • CDP: Customer Data Platform แพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้า ซึ่งเป็นอีกระบบที่แตกต่างจาก CRM เพราะจะดึงข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าทั้งจากข้อมูลภายใน (first party) และข้อมูลจากบุคคลที่สาม (third party) แล้วนำมาประมวลผล สร้างเป็นหน้าต่างข้อมูลลูกค้าแต่ละราย ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าและตลาดได้ดียิ่งขึ้น 

หากลองศึกษาเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มเติม จะพบว่า เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีไว้สำหรับองค์กรหรือธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถปรับแต่งและใช้งานในองค์กรหรือธุรกิจระบบเล็ก-กลางได้เช่นกัน ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้นในยุคดิจิทัลนี้ 

แนะนำ 5 วิธีประยุกต์ใช้ Big Data กับธุรกิจและองค์กร 

Big Data มีประโยชน์มากมายและมีตัวอย่างองค์กรที่ปรับใช้ Big Data เพื่อทำการตลาดและดำเนินธุรกิจมากมาย หากธุรกิจหรือองค์กรของคุณต้องการใช้บ้าง ต่อไปนี้ เป็นคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณเห็นแนวทางในการเอาไปปรับใช้ได้ชัดเจนขึ้น 

1. กำหนดเป้าหมายและตั้งโจทย์ในการใช้ Big Data 

เริ่มแรกก่อนที่จะวางแผนเก็บข้อมูลหรือตัดสินใจซื้อซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลมาใช้ บริษัทหรือองค์กรควรถามตัวเองก่อนว่า จะใช้ข้อมูลเพื่ออะไร จากนั้นทำความเข้าใจโจทย์ว่าธุรกิจต้องการรู้อะไร โดยอาจตั้งต้นด้วยเป้าหมายทางธุรกิจหรือเป้าหมายทางการตลาด 

เช่น ต้องการลดระยะเวลาดำเนินงาน ลดระยะเวลาขนส่ง ต้องการเพิ่มยอดขาย ต้องการบุกตลาดใหม่ เป็นต้น 

เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนและได้โจทย์แล้ว จากนั้นจึงขยับไปขั้นตอนต่อไป

2. ทำความเข้าใจข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนนี้ ให้ทำความเข้าใจว่าเราต้องการข้อมูลอะไร และจะใช้วิธีใดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์รวมถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในขั้นตอนแรก โดยธุรกิจหรือองค์กรของคุณอาจเริ่มต้นด้วย 3 คำถามง่ายๆ ได้แก่

  1. ต้องการข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อที่จะตอบคำถามหรือโจทย์ที่ตั้งไว้
  2. ต้องการข้อมูลจากแหล่งใดบ้างและเป็นข้อมูลประเภทไหน เพื่อจะได้รู้ว่าต้องนำเข้าข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง หรือซอฟต์แวร์ที่จะใช้จัดการกับข้อมูลจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครื่องมือใดได้บ้าง
  3. ต้องการใช้วิธีอะไรจึงจะได้คำตอบ ต้องการการวิเคราะห์แบบใด คำนวณแบบไหน เพื่อให้ได้คำตอบ รวมไปถึงรูปแบบคำตอบที่อยากได้ เช่น เป็นกราฟ เป็นหน้าต่างรายงานผล (Report Dashboard) เป็นต้น

3. เลือกเทคโนโลยีจัดการ Big Data ที่เหมาะสม

เมื่อเข้าใจโจทย์และรู้แล้วว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้างเพื่อที่จะตอบเป้าหมายของเราได้ ต่อมาคือการเลือกใช้เทคโนโลยีมาใช้งานให้ตอบกับโจทย์ของเรา แต่ก่อนอื่นต้องแน่ใจว่า เครื่องมือที่จะนำมาใช้นั้น สามารถดึงและจัดการกับข้อมูลที่เราต้องการได้ และสามารถวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามที่เราต้องการได้ด้วย

ปัจจุบันรูปแบบของการเลือกซื้อเครื่องมือ ส่วนใหญ่จะมี “ช่วงทดลอง” (free trial) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่จะได้ลองใช้เครื่องมือก่อนว่าตอบโจทย์และเป้าหมายของเราจริงๆ หรือไม่ นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะหากเครื่องมือมีความซับซ้อน ต่อให้มีฟีเจอร์มากมาย ผู้ใช้งานก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเครื่องมือได้เต็มที่ 

เครื่องมือที่เลือกใช้ ควรจะสามารถปรับแต่ง (customize) ได้บางส่วนเพื่อให้เหมาะกับองค์กรแต่ละองค์กร มีการอบรมสอนการใช้งาน และบริการให้ความช่วยเหลือหลังการขายก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ในปัจจุบันควรมองหาซอฟต์แวร์ที่จัดเก็บข้อมูลบน Cloud system เพราะสะดวกต่อการดึงและเชื่อมต่อข้อมูลมากกว่า

4. เตรียมพร้อมทักษะการจัดการข้อมูลในองค์กร

เทคโนโลยียังต้องการ ‘มนุษย์’ ในการควบคุมและกำหนดเป้าหมาย เมื่อต้องการใช้ Big Data ในองค์กร “คน” คือ อีกหัวใจของการทำงาน องค์กรจะต้องมีแผนในการเทรนทักษะให้แก่พนักงานที่รับผิดชอบ มอบหมายหน้าที่ว่าใครทำอะไร 

ซึ่งเรื่องการอบรมอาจจะเป็นการอบรมกันภายในหรือเป็นบริการจากผู้ในบริการซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ บางเรื่องอาจกระจายงานให้ Outsource หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญช่วยดูแลได้ เช่น จ้างบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

5. การดำเนินงานและการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

แน่นอนว่า การนำ Big Data มาใช้ (implement) ทันที เป็นเรื่องใหม่ ทั้งองค์กรจำเป็นต้องทำความเข้าใจและดำเนินงานไปพร้อมกัน มาจะนำ Big Data มาใช้จึงควรมีการกระจายความรับผิดชอบ มีแผนจัดการกับข้อมูล และการอบรมทักษะและการดำเนินงาน ในระหว่างเปลี่ยนถ่ายข้อมูลจะดำเนินการอื่นๆ อย่างไร เป็นต้น

Big Data กับการใช้งานจริงในธุรกิจและองค์กร

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Big Data จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการจัดการกับข้อมูล ที่ 1st Craft เราให้บริการระบบ ERP และระบบอื่นๆ ที่ช่วยจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่สามารถปรับแต่งระบบให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละองค์กรได้ 

หากคุณต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล ต้องการคำแนะนำสำหรับเริ่มต้นทำ Big Data ในองค์กร หรืออยากหาระบบสำหรับองค์กร ที่จะช่วยให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรึกษาเราได้ฟรีที่นี่