การนำเอาระบบ ERP มาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต จะทำให้สามารถบริหารจัดการภายในโรงงานอุตสาหกรรมได้ในทุกแง่มุม และยังช่วยให้ทรัพยากรต่างๆ ถูกนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
มาทำความรู้จักกับ ระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตให้มากขึ้น ว่าคืออะไร? มีหน้าที่อะไรบ้าง? รวมไปถึงการเลือกใช้งานที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินในการเลือกใช้งานระบบ ที่ช่วยให้การดำเนินงานในทุกขั้นตอนได้เต็มศักยภาพ
- ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตคืออะไร?
- ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ทำหน้าที่ในเรื่องใดบ้าง?
- ประโยชน์ 6 ข้อ ของระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
- ERP แบบทั่วไป กับ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ต่างกันตรงไหนบ้าง?
- ระบบ ERP แบบไหนที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
- เริ่มต้นใช้งาน ระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของคุณ
ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตคืออะไร?
ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีส่วนประกอบอยู่หลายส่วน เช่น
- การจัดซื้อจัดจ้าง
- การบริหารความเสี่ยง
- บัญชี และการเงิน
- การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
- การจัดการสินค้าคงคลัง
- การสร้างใบสั่งงาน
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR)
และระบบอื่นๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยช่วยทั้งการวางแผนเพื่อเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรที่จำเป็นภายในกระบวนการผลิต รวมถึงปรับปรุงทรัพยากรและกระบวนการในการผลิตได้อย่างเหมาะสม ในแบบที่ไม่กระทบกับคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้า
ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ทำหน้าที่ในเรื่องใดบ้าง?
การใช้งานระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีตั้งแต่ระดับจุลภาคจนถึงระดับมหภาคให้กับโรงงาน ทั้งในด้านกระบวนการผลิต และการเพิ่มผลกำไร โดยหน้าที่ที่โดดเด่นของ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต เช่น
- การจัดการสินค้าคงคลัง ตั้งแต่การจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษา การซ่อมแซม การทำงานของเครื่องจักร (MRO) ไปจนถึงการสำรองอุปกรณ์หรืออะไหล่ต่างๆ ให้พร้อมนำมาใช้งานอยู่เสมอ ระบบ ERP จะเป็นเสมือนส่วนกลางในการติดตามสินค้าคงคลัง การวิเคราะห์ข้อมูล และวางกลยุทธ์ในการจัดซื้ออุปกรณ์ตามจำนวนที่เหมาะสม
- ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมที่ชัดเจน และติดตามข้อมูลการขายของคู่ค้า จากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอก เพื่อช่วยในการวางแผนการผลิตและส่งมอบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การบำรุงรักษาสิ่งต่างๆ ในโรงงาน โดยระบบ ERP จะมอบความสะดวกสบายในการบำรุงรักษาภายในโรงงาน ด้วยการเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลทั้ง การรับคำร้อง และการดำเนินการซ่อมบำรุงสิ่งต่างๆ ภายในโรงงาน ในขณะเดียวกันระบบจะทำการติดตาม (Tracking) และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการซ่อมบำรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ติดตามการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ERP สามารถเก็บข้อมูล ติดตาม และวิเคราะห์ผลของอุปกรณ์และเครื่องมือภายในโรงงาน จากการรับข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์และการรายงานผล ทำให้อุปกรณ์และเครื่องมือภายในโรงงานมีความพร้อมในการใช้งาน รวมถึงวิเคราะห์การบำรุงรักษาได้ตรงจุด
- การประกันคุณภาพ (Quality Assurance: QA) โดยซอฟต์แวร์ ERP สามารถวางแผนการทำงานล่วงหน้าในกระบวนการผลิตได้อย่างเป็นระบบ จากการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากภายในโรงงาน เช่น ระบุความต้องการในการบำรุงรักษาของอุปกรณ์ล่วงหน้า จึงช่วยป้องกันปัญหาการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดซื้อ ด้วยระบบ ERP จะช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถจัดซื้อและออกคำขอเบิกได้อย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการใช้งานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ
- ระบบ HR โดยนอกเหนือจากการดำเนินงานและสนับสนุนการผลิตแล้ว ERP ยังมีความสามารถที่ครอบคลุมไปถึงระบบ HR อีกด้วย เช่น การรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินงานของบุคลากร (Performance Review) การจ่ายเงินเดือน เป็นต้น
ประโยชน์ 6 ข้อ ของระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
1. ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย
ข้อมูลหรือ Data ต่างๆ ภายในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากและมาจากหลายแผนก ซึ่งถ้ายังมีการบันทึกข้อมูลลงกระดาษ โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาด การสูญหาย ข้อมูลไม่ครบถ้วน รวมถึงความปลอดภัยต่อข้อมูลก็มีน้อยมาก ถึงแม้จะบันทึกลงใน Hard Disk ก็ไม่สามารถการันตีได้เลยว่าข้อมูลที่เก็บเอาไว้จะมีความปลอดภัย
ระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยผู้ที่มีตำแหน่งระดับบริหารหรือระดับหัวหน้างานสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ในที่เดียว รวมถึงจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น จึงช่วยให้โรงงานสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การควบคุมสินค้าคงคลังได้เสร็จสรรพ
การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น โดยระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จะทำให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของสต็อคได้อย่างแม่นยำและเรียลไทม์ จึงทำให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. เชื่อมระบบการทำงานของทุกแผนกไว้ในที่เดียว
ทุกแผนกของโรงงานสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ผ่านระบบ ERP ไม่ว่าจะเป็น แผนกการเงิน ทรัพยากรบุคคล สินค้าคงคลัง ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการลูกค้า และแผนกอื่นๆ ทำให้ทุกแผนกสามารถทำงานผ่านระบบกลางร่วมกัน ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำงานของแต่ละแผนกได้ง่ายและเรียลไทม์
4. มีระบบสร้างใบสั่งผลิตอัตโนมัติ
ระบบ ERP ช่วยให้การทำงานของแผนกต่างๆ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้นด้วย “ระบบสร้างใบสั่งผลิตอัตโนมัติ (Automate Work Order)” โดยระบบจะรันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น
- วันที่
- เวลาในการดำเนินการ
- ชื่อลูกค้า
- ใบสั่งขาย
- ปริมาณสินค้า
- ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
โดยแต่ละคำสั่งสร้างใบสั่งผลิตจะมีโค้ดตัวเลขกำกับ ช่วยให้หัวหน้างานสามารถตรวจสอบและติดตามงานตามใบสั่งผลิตอัตโนมัติ รวมถึงทุกฝ่ายสามารถทำงานได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง
5. จัดการระบบ Supply Chain ได้อย่างราบรื่น
ระบบ ERP ช่วยให้ระบบ Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทานสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นในด้านการประสานงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดการสต็อค และการส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา
จึงทำให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบกลยุทธ์ในการจัดส่งสินค้า (Logistics) ให้ดีขึ้นได้ และส่งผลต่อการลดต้นทุนในการบริหาร การดำเนินงานได้มากขึ้นด้วย
6. ข้อมูลมีความแม่นยำ ช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
การใช้งานระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ช่วยให้ผู้ผลิตมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนในทุกแง่มุมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพในการขาย ลูกค้า กำไร ขาดทุน หุ้น การเงิน แรงงาน และอื่นๆ ข้อมูลทั้งหมดนี้จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตที่ดี ฝ่ายบริหารทำงานได้เร็วขึ้น รวมถึงการตัดสินใจที่สำคัญต่างๆ ก็สามารถทำได้รวดเร็วขึ้นด้วย
ERP แบบทั่วไป กับ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ต่างกันตรงไหนบ้าง?
การใช้งานระบบ ERP สำหรับธุรกิจทั่วไป
เป็นการวางระบบซอฟต์แวร์ที่รองรับสำหรับการใช้งานในระดับธุรกิจโดยเฉพาะ เมื่อนำมาใช้งานกับระบบอุตสาหกรรมการผลิต ก็จะทำให้ขาดฟังก์ชันในการใช้งานที่เหมาะสม หรืออาจมีข้อจำกัดในการใช้งานที่ไม่ครอบคลุมความทุกต้องการใช้งานภายในโรงงานได้
การใช้งานระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
แน่นอนว่าระบบต่างๆ จะถูกออกแบบด้วยความเข้าใจในระบบอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ เมื่อนำมาใช้งานกับโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว จะสามารถปรับแต่งให้เข้ากับระบบการผลิตของโรงงานที่เหมาะสม และยังช่วยให้เห็นภาพรวม พร้อมการควบคุมระบบทั้งหมดได้สมบูรณ์แบบ
ระบบ ERP แบบไหนที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
ปัจจุบันนี้มีระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตหลายประเภทให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน โดยเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับขนาด ฟังก์ชัน และระบบการผลิต แบ่งรูปแบบระบบออกเป็น
1. ระบบ On-premise
ระบบ On-premise เป็นการติดตั้งระบบ ERP ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอาไว้ที่โรงงาน โดยต้องมีพื้นที่ติดตั้ง ระบบควบคุมอากาศ ระบบไฟฟ้า รวมถึงต้องมีทีมไอทีซัพพอร์ตสำหรับอัปเดตและบำรุงรักษาระบบอยู่เสมอ จุดเด่นของระบบนี้คือการได้เก็บข้อมูลทั้งหมดเอาไว้กับตนเอง มีความปลอดภัยสูง
2. ระบบ Cloud-Based
ระบบ Cloud-Based เป็นระบบ ERP ที่ใช้งานบนคลาวน์ ข้อดีของการใช้งานรูปแบบนี้คือไม่ต้องมีพื้นที่ติดตั้งระบบภายในโรงงาน แต่ระบบทั้งหมดจะใช้งานผ่านช่องทางเซิฟเวอร์ออนไลน์ ทำให้ข้อมูลต่างๆ มีการอัปเดตแบบเรียลไทม์ สามารถเปิดดูข้อมูลได้จากที่ไหนก็ได้ มอบความยืดหยุ่นทั้งด้านการใช้งาน และการอัปเดตหรือปรับแต่งระบบที่สะดวกรวดเร็ว
3. ระบบ Hybrid
ระบบ Hybrid หากผู้ผลิตต้องการระบบ ERP ที่ตอบโจทย์ทั้งในรูปแบบ On-premise ที่ได้เป็นเจ้าของระบบและดูรักษาความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง รวมถึงต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งานระบบ ERP แบบ Cloud-Based ก็สามารถเลือกเอาทั้ง 2 รูปแบบมารวมกันเป็นแบบ Hybrid หรือลูกผสม เพื่อให้สามารถโยกย้ายข้อมูลได้อย่างอิสระ และมีความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
เริ่มต้นใช้งาน ระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของคุณ
โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตที่เลือกใช้ระบบ ERP จะสามารถยกระดับการบริหารภายในองค์กรได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่พื้นที่ปฏิบัติงาน การจัดการข้อมูลในแผนกต่างๆ การวางแผนผลิตที่ตรงตามความต้องการของตลาด ไปจนถึงการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อการเติบโตของการผลิต และการสร้างผลกำไรที่มากขึ้นอีกด้วย
หากคุณพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงสู่การเติบโตในอุตสหกรรมการผลิตที่ยั่งยืน ที่ 1stCraft เราให้บริการระบบ ERP โดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่มี Hidden Cost และ ค่าใช้จ่ายต่อ User เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ